การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนเทคนิค Teams - Games Tournament (TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุทธากร อังคตรีรัตน์
สุทธากร อังคตรีรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนเทคนิค Teams - Games Tournament (TGT)ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6          2) เปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนเทคนิค Teams - Games Tournament (TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ประจำ ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี  สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 จำนวนนักเรียน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากยกชั้นเรียนเนื่องจากผลการเรียนของนักเรียนไม่แตกต่างกันโดยอ้างอิงจากผลการเรียนของภาคเรียนที่ผ่านมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนเทคนิค Teams - Games Tournament (TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ข้อสอบมีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หาประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 75/75 การทดสอบค่าที         แบบ Dependent


 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนเทคนิค Teams - Games Tournament (TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 75.09/76.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75

  2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนเทคนิค Teams - Games Tournament (TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและมีพัฒนาการที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ :  การจัดการเรียนรู้ / เทคนิค TGT/ สื่อมัลติมีเดีย / การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)