การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก*
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre Experimental Research) แบบแผนการวิจัยเป็นแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลังเรียน (The One-Group Pretest - Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องทางออกแค่พอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนการจัดการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องทางออกแค่พอเพียง 3) ประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก และ5) แบบสอบถามวัดความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า หลังการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก 1) ผลการเรียนรู้ เรื่องทางออกแค่พอเพียง หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับสูง 3) ความสามารถในการสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก อยู่ในระดับสูง และ 4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.กรุงเทพ ฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
กาญจนา คุณารักษ์ .(2553). การออกแบบการเรียนการสอน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ขวัญตา บัวแดง.(2553).การศึกษาผลการเรียนรู้เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการะบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล ถิ่นวิรัตน์ (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อนกรณีศึกษาโครงการ “รู้สู้ flood” . วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศน์ศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิวัฒน์ บุญสม. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เบญจวรรณ อ่วมมณี .(2549). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัชรา วาณิชวศิน. (สิงหาคม 2558). ศักยภาพของอินโฟกรฟฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้. วารสารปัญญาภิวัฒน์, หน้า 227-240.
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลัก ในการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจิราพร รามศิริ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรากรณ์ สามโกเศศ (2556) . Infographics ช่วยการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/490933
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธิ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วาสนา พระภูมี.(2555).ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Base Learning) เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป (Method of Teaching). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.กรุงเทพ ฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
........................................................ .(2561) .มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561.กรุงเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด .
ภาษาอังกฤษ
Davidson,R. (2014). Using Infographic in the Science Classroom. The Science Teacher, page 34-39.
Delisle , Robert (1997) .How to Use Problem-Base Learning in the Classroom.Aleandria , Virginia : Association to Supervision and curriculum Development.
Doug Newsom and Jim Haynes (2004). Public Relations Writing: Form and Style. California : Wadsworth Publishing
Parnes , S.J. (1976). Creative Behavior Guide Book. New York: ChariesScribner.
Torrance E.P. (1965). Rewarding creative brhavior. New Jersey: Prentice Hill.
S.G.and Treffinger,D.j Isaken. (2004). Celebrating 50 years of practice : Version of creative problem solving. Journal of Creative Behavior, 75-101. Retieved April 4, 2016 ,from http://www.rogerfirestien.com/Version%20of%20CPS.pdf
UNESCO.(1995). UNESCO and global learning .Retrieved May 5 ,2016.Available from : Http :// cfis.com/educate/unesco-and-global-learning