การพัฒนาเครื่องมือประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์สำหรับวัยเด็กตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบภาพที่ใช้สื่อในการแสดงอารมณ์ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตอนต้นมากที่สุด และนำผลมาปรับปรุงเครื่องมือตรวจวัดเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์ของสำหรับวัยเด็กตอนต้นที่มี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กวัยเด็กตอนต้นอายุระหว่าง 3 ปี – 6 ปี จำนวน 175 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบ 8 ชุด A-H ประกอบด้วยภาพใบหน้าที่แสดงอารมณ์พื้นฐาน 6 อารมณ์ คือ อารมณ์ดีใจ อารมณ์เสียใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์ตกใจ อารมณ์กลัว และ อารมณ์สงสัย และใช้ t-test ในการเปรียบเทียบอำนาจจำแนกของแบบทดสอบแต่ละชุด จากการวิจัยสรุปได้ว่า ชุดทดสอบทุกชุดมีอำนาจในการจำแนกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยชุดทดสอบที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคสูงที่สุด ได้แก่ชุดทดสอบ H โดยมีค่าความเชื่อมั่นสูงสุดใน แบบทดสอบด้าน Receptive ของช่วงอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี และมีค่าความเชื่อมั่นสูงสุดในแบบทดสอบด้าน Expressive ของช่วงอายุ 3-4 ปี 4-5 ปี 5-6 ปี และรวมทุกช่วงอายุ จากผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเลือกชุดทดสอบ H มาใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดพัฒนาการ สำหรับวัยเด็กตอนต้นที่มีอยู่เดิม
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. 2555. คู่มือการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก: การทดสอบและฝึกทักษะ. กรุงเทพฯ :
คุรุสภา ลาดพร้าว.
นิตยา คชภักดีและคณะ. 2546. คู่มือการฝึกอบรมการทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย DENVER
II (ฉบับภาษาไทย). นครปฐม : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัก ชุณหกาญจน์และคณะ. 2558. การพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดพัฒนาการสำหรับวัยเด็ก
ตอนต้น. กรุงเทพ : คณะสังคมศาสตร์
สมัย ศิริทองถาวร. 2556. การศึกษาเกณฑ์ปกติด้านพัฒนาการของเด็กไทย วัยแรกเกิด- 5 ปี
โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการเด็ก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.
ภาษาต่างประเทศ
Bayley, N. (2006). Bayley scales of infant development-Third edition. San Antonio, TX: Pearson, Inc.
Bell, M., and C. Wolfe. 2004. “Emotion and Cognition: An Intricately Bound
Developmental Process,” Child Development, Vol. 75, No. 2, 366–70
Cannon, W. B. (1927) The James-Lange theory of emotion: A critical
examination and an alternative theory. American Journal of Psychology, 39, 10-124.
Chaplin, T. M., & Aldao, A. (2013). Gender differences in emotion expression in
children: A meta-analytic review. Psychological Bulletin, 139, 735-765.
Chaplin, T. M. (2015). Gender and Emotion Expression: A Developmental
Contextual Perspective. Emotion Review: Journal of the International
Society for Research on Emotion, 7(1), 14–21. https://doi.org/10.1177/1754073914544408
Cherry, K. (2010). The Everything Psychology Book : Explore the human
psyche and understand why we do the things we do. Holbrook, MA, Adams Media Corporation.
Ekman, P.(2005). Basic Emotions.Handbook of Cognition and Emotion.John
Wiley & Sons, Ltd. 45-60
James, W. (1884). What is an Emotion? Mind, 9, 188-205.
Myers, D. G. (2004). Theories of Emotion. Psychology: Seventh Edition. New
York, NY: Worth Publishers.
Newborg Jean. 2005. Battelle Developmental Inventory, 2nd edition. Itasca, IL:
Riverside Publishing.
Parkins, R. Gender and Emotional Expressiveness: An Analysis of Prosodic
Features in Emotional Expression. Griffith Working Papers in
Pragmatics and Intercultural Communication 5,1(2012),46-54
Saarni, C. (1999). The development of emotional competence. New York:
Guilford Press.
SparkNotes Editors. (2005). SparkNote on Emotion. Retrieved December 24,
2017, from https://www.sparknotes.com/psychology/psych101/emotion/
Thompson, R. A., and R. Goodvin. 2005. “The Individual Child: Temperament,
Emotion, Self and Personality,” in Developmental Science: An
Advanced Textbook (Fifth edition). Edited by M. H. Bornstein and M. E.
Lamb. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.