การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การสอนแบบการวิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

กิตติศักดิ์ ศรีวงค์ษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) มีจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยคุณภาพของแผนการเรียนรู้เท่ากับ 4.65 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 2.715-4.868 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.939 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 2.277-4.919 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.815 4) แบบสอบถามวัดเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.913 วิเคราะห์สมมติฐานโดยใช้สถิติ t – test for Dependent Samples


            ผลจากการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง หลังจากดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการวิจัยเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จินตนา ช่วยด้วง. (2547). การใช้เทคนิคการสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีรศักดิ์ พาจันทร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 28 (1) : 47-59
นพวรรณ ศรีเกตุ. (2550). การแสดงหลักฐานความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรขั้นบูรณาการ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยและสถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มปพ.
พวงผกา ปวีณบาเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. CMU Journal of Education 1 (2) : 62-71
พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ และศุภลักษณ์ สินธนา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 13 : 161-170
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารนักบริหาร 31 (3) : 26 -30.
Sinlarat, P. (2012). Principles and techniques of higher education. (3 ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Srikoon, S., Bunterm, T., Samranjai, J., and Wattanathorn, J. (2014). Research Synthesis of ResearchBased Learning for Education in Thailand. Procedia-Social and ehavioral Sciences 116 : 913-917.