การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพเพื่อส่งเสริม การรับรู้สุนทรีย์และการสร้างผลงานทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพเพื่อส่งเสริมการรับรู้สุนทรีย์และการสร้างผลงานทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาระดับการรับรู้สุนทรีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพ 3) ศึกษาผลการสร้างผลงานทัศนศิลป์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพเพื่อส่งเสริมการรับรู้สุนทรีย์และการสร้างผลงานทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธรรมศาลา (หลวงพ่อน้อยอุปถัมภ์ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพ แบบประเมินการรับรู้สุนทรีย์ แบบประเมินการสร้างผลงานทัศนศิลป์และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนากิจกรรมทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพเพื่อส่งเสริมการรับรู้สุนทรีย์และการสร้างผลงานทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ตั้งไว้ คือ 06/81.56
2.ผลการศึกษาระดับการรับรู้สุนทรีย์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพ มีระดับการรับรู้สุนทรีย์จากแบบทดสอบสุนทรีย์อยู่ในระดับ 3 การแสดงออก (Expressiveness) ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.31
3. ผลการศึกษาผลการสร้างผลงานทัศนศิลป์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ10 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.27
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ร่วมกับการใช้เพลงประกอบภาพเพื่อส่งเสริมการรับรู้สุนทรีย์และการสร้างผลงานทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 57 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.62
Article Details
References
Chamoni, P. (2016). Western Aesthetics. Bangkok. Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University.
ไพโรจน์ ชมุนี.(2559). สุนทรียศาสตร์ตะวันตก (WESTERN AESTHETICS).กรุงเทพฯ : คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Kiinkesorn, T. (2011). Effects of Aesthetic Experience Enhancement Through Activities in Art Museum on Aesthetic of Elementary School Students. Master’s thesis. Art Education. Chulalongkorn University Press.
ธาริน กลิ่นเกสร.(2554). ผลการส่งเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียะผ่านกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีต่อสุนทรียภาพของนักเรียนประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ministry of Education Thailand. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Co.,Ltd.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Noisamdang, S. (2010). The study of painting and painting works and satisfaction by using teaching songs. Master’s thesis. Srinakharinwiroy University.
สุเชน น้อยสำแดง.(2553).การศึกษาผลงานการวาดภาพระบายสีและความพึงพอใจโดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Puengpai, T. (2010). The Effects of Using Music in Arts Teaching To Creative Thinking of Prathomsuksa 4 students, Anuban Prachantakham School, Prachantakham District, Prachin Buri Province. Master’s thesis.Curriculum and Instruction. Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage.
ธารินี ผึ่งผาย.(2553). ผลการใช้เสียงดนตรีประกอบการสอนวิชาศิลปะที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4โรงเรียนอนุบาลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Rungthaweesub, S. and Po-ngern, W.(2018). The Development of Art Criticism Activities to Develop Aesthetic and Assessment for Secondary Students. Suan Dusit Graduate School. Suan Dusit Journal. Ed. 14th. September-December 2018.
สิทธินันท์ รุ่งทวีทรัพย์และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2561).การพัฒนากิจกรรมศิลปะวิจารณ์เพื่อส่งเสริมสุนทรียและการประเมินค่าสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5,วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม 2561.
Samang, J. (2007). Samong Di Dontri Thamdi Music Can Do. Bangkok: Amarin Printing and Publishing . Co.,Ltd.
จเร สำอางค์. (2550). สมองดี ดนตรีทำได้ Music Can Do. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).
Sunthornnon, C. (2015). Aesthetic and Visual Art. Samut Sakorn. App Printing Group.
ฉลอง สุนทรนนท์.(2558) สุนทรียศาสตร์และทัศนศิลป์.สมุทรสาคร:แอ๊ป พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
Tangcharoen, V. (1994). Human and Beauty. Bangkok. Odeon Store.
วิรุณ ตั้งเจริญ.. (2537). มนุษย์กับความงาม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Tangcharoen, V. (2000) Research for Developing a Gifted Children Education Model, Acase Stndy Pathai Udomsuksa School. Bangkok. Faculty of Fine Arts. Srinakharinwiroy University.
วิรุณ ตั้งเจริญและคณะ.(2543).โครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ : กรณีศึกษาโรงเรียนไผทอุดมศึกษา.กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Tangcharoen, V. (2005). Visual Arts Education. Bangkok: Santi Siri Karn Pim
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2548). ทัศนศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
Tangcharoen, V. (2009). Aesthetics for life. 2nd. Bangkok: Santi Siri Karn Pim
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2552).สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.
Thamronglerdrit, T. (2010). The 5th National Children's Art Competition.
ธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์.(2553). ศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ม.ป.ท.
Ua-anant, M. (2002). Art Education Reform. 2nd . Bangkok. Chulalongkorn University Press.
มะลิฉัตร เอื้ออานันท์.(2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูปฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
English
Bohannon, R. L., & McDowell, C. (2010).Art, music and movement connections for
elementary education teacher candidates, General Music Today, 24(1): 27-31.
Chark,G., Day,M.D., and Greer, W.D.(1987).Discipline-Based Art Education: Becoming students of art. Journal of Aesthetic Education 21 (2):129-196.
Filipovic, S., & Grujic-Garic, G. (2011).The influence of music on the children’s art
expression, Journal Plus Education, 7 (2): 223-240.
Parsons, M.J. (1987).How We Understand Art : A Cognitive Developmental Account of Aesthetic Experience. New York: Cambridge University Press.
Pavlou, V., & Athanasiou, G. (2014). An interdisciplinary approach for understanding artworks: The role of music in visual arts education. International Journal of Education & the Arts, 15(Number 11).