แนวคิดตามพระราชดำริในการพัฒนานักการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

ศิริณา จิตต์จรัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดตามพระราชดำริในการพัฒนานักการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนานักการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาของรัชกาลที่ 6 เป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน ที่คัดเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)  การเสวนากลุ่ม ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์สามเส้า (Triangular Analysis)


ผลการวิจัยพบว่าการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศในวัยเยาว์ทำให้ท่านทรงมีพระราชบุคลิกภาพส่วนพระองค์คือ 1) ความกตัญญูกตเวทีและมีระเบียบวินัย 2) ความเมตตากรุณาต่อปวงชน 3) ความใฝ่รู้ใฝ่เห็น การมองโลกในแง่ดี 4) รักความเป็นไทย รักชาติ และ 5) มุ่งการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีนำมาซึ่งแนวคิดตามพระราชดำริในการพัฒนานักการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  มีดังนี้ 1) วัฒนธรรมภายนอก 2) ความคิดเชิงระบบและมีเป้าหมาย 3) การถ่ายทอดตามวิถีชีวิตของคนไทยและ 4) โลกาภิวัตน์ ส่วนแนวทางและผลในการพัฒนานักการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งระดับบริหาร และระดับปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในด้านการวางแผน การดำเนินการ การติดตามผลด้วยพระองค์เอง และคณะบุคคลและงบประมาณกล่าวคือ  1) การจัดตั้งสถาบันทางศึกษาในระดับพื้นฐาน  อุดมศึกษา  พรบ. การศึกษาระดับประถมศึกษาที่บังคับให้คนไทยได้เรียนหนังสือ การเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต 2) ส่งเสริมโดยการพระราชทานทุนการศึกษาทั้งทุนเล่าเรียนหลวงและทุนส่วนพระองค์เพื่อศึกษาในประเทศและต่างประเทศและ 3) มีแนวคิดในการนำบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ในด้านต่างๆ  เช่น  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผลการพัฒนาการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ช่วงเวลาจะล่วงเลยสมัยรัชกาลพระองค์ท่านมาเนินนานนับกว่า 100 ปี จากแนวทางการทรงงานยังปรากฏผลสืบเนื่องในระดับองค์กร ได้แก่ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนฝึกหัดครู โรงเรียนเพาะช่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุคคลสำคัญที่มีคุณูปการด้านการศึกษาคือ มล.ปิ่น มาลากุล ณ อยุธยา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)