การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องการคูณ

Main Article Content

แพรวนภา อินทร์นุช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณ กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านจีกแดก อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561  จำนวน 31 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ จำนวน 8 ชุด  (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)  


 


ผลการวิจัย พบว่า


                   1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.95/82.74 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้


                   2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


                   3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ประกอบเทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{}= 3.86)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา. (2557). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับท้องถิ่น. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.
กษมา วุฒิสารวัฒนา. (2548). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และการคิด
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดพะเยา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาศ สืบจ้อน. (2552). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยเทคนิคการวาดภาพ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เจนจิรา ลักษณบุญส่ง. (2554). การสื่อสารด้วยภาพในเด็กปฐมวัย. ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชมัยพร พุทธิวาณิชย์. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
โชติ จันทร์วัง. (2547). ผลของการใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และความสามารถในการนำ
เสนอข้อมูลทางคณิตศาสตร์ด้วยแผนภาพของนักเรียนเตรียมทหาร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิดารัตน์ พินิจสุวรรณ. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการ บวก ลบ คูณ หารทศนิยมระคน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา 5 ขั้น สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
นิตยา พลจ่า และมรุรินทร์ กุสุมาลย์. (2550). การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
มหาสารคาม.
ประคอง ธนูปกรณ์. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนโดยใช้แบบฝึกประกอบภาพ
แบบเลือกตอบกับแบบฝึกประกอบภาพแบบสร้างคําตอบ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
ปริญญ์ พวงนัดดา. (2544). เอกสารประกอบการบรรยาย ประชุมเชิงปฎิบัติการผลิตเพื่อการเรียนการสอน วันที่ 30-31 สิงหาคม 2544 ณ โรงเรียนเนินขามรัฐประชานเคราะห์ จังหวัดชัยนาท.
ปัทมา บันเทิงจิต. (2548). การศึกษาทักษะทางสังคมด้านการเล่นกับเพื่อนของเด็กออทิสติก โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยประกอบกับการสื่อด้วยภาพ. ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.f
ศิริลักษณ์ แสงวงศ์. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ จำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์ ช่วง
ชั้นที่ 1-2 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : กราฟฟิคโกร.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. พิมพ์ครั้งที่2. เชียงใหม่ : The Knowledge Center.
สุฐิพร สอนอ่อน. (2547). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
อัมพิกา แก้วไพฑูรย์. (2549). ผลของการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอดนิชั่น ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.