รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูและสมรรถนะการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูและสมรรถนะการสอน สร้างตัวชี้วัดและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่เกิดจากรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนคณะครุศาสตร์ ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 8 คน และนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 55 คน รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อาศัยแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การวิจัยเป็นฐาน ระบบพี่เลี้ยง ชุมชนแห่งการเรียนรู้อาชีพ และยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญา มาเป็นหลักการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการสร้างองค์ความรู้ต่อยอดจากความรู้เดิมของตนเอง ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด เกิดการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนแห่งการเรียนรู้อาชีพร่วมกัน ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ทุกองค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดและหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับขั้นตอนของรูปแบบ และองค์ประกอบของรูปแบบมีความสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน
Article Details
References
ประชาราษฎร์สามัคคี อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2553). 11 กันยายน 2553. ยกระดับคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาผ่าน
กระบวนการทางจิตปัญญาศึกษา (2). มติชน.
พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์และคณะ (2552). จิตตปัญญาศึกษา : กรณีศึกษาสองชั้นเรียน.หนังสือรวม
บทความการประชุมวิชาการประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 2. นครปฐม: โครงการศูนย์
จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
วันทนีย์ นามสวัสดิ์ (2558). “ผลการใช้จิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครู
สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ”. วารสารบัณฑิตศึกษา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 57
เมษายน-มิถุนายน 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิจารณ์ พานิช (2550). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิตวิญญาณ.
กรุงเทพมหานคร: ส่วนเงินมีนา.
สมจิตร์ ทรัพย์อัประไมย. (2540). ผลของการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาเมตาคอกนิชันที่มีต่อเมตา
คอกนิชันและสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สาลินี จงใจสุรธรรม และคณะ (2558). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (self-
regulated learning strategies of 21st century). วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อ
การพัฒนา. 7 (1), 15-26.
สุนทรา โตบัว (2556). “การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดและการวิจัยเป็นฐาน เพื่อ
การพัฒนาตนเองด้านสมรรถนะวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา”. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์
ประยุกต์. กรกฎาคม - ธันวาคม 2556.
Keeves P.J. (1988). Educational research, methodology and measurement : An
international handbook. Oxford: Pergamon Press.