การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านเหตุผลระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง: การวิเคราะห์จากผลการทดสอบระดับชาติ

Main Article Content

นิตยา ดวงจันทร์ทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านเหตุผลของแบบทดสอบระดับชาติระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 464,532 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผล  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 27 ข้อ วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก และวัดขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยใช้เกณฑ์Jodoin and Gierl (2001)  ผลการวิจัยพบว่า ข้อสอบทำหน้าที่ต่างกันทุกข้อ โดยมีข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบเอกรูป จำนวน 2 ข้อ และข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบอเนกรูป จำนวน  25 ข้อ แต่เมื่อพิจารณาขนาดของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่าทุกข้อมีขนาดของการทำหน้าที่ต่างกันเพียงขนาดเดียวคือ ขนาดเล็กงนั้นจึงสรุปได้ว่าข้อสอบวัดความสามารถด้านเหตุผลของการทดสอบระดับชาติ(NT) มีความยุติธรรมทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง  

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (2556).
นิยามความสามารถของผู้เรียน ด้านภาษา ด้านคำนวณและด้านเหตุผล. กรุงเทพมหานคร:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Gomez-Benito, J.Hidalgo,M.D. and Padilla, J.L.,(2009). Efficacy of Effect Size Measures in
Logistic Regression An Application for Detecting DIF. Methodology :European
Journal of Research Method for the Behavioral and Social Sciences.Vol 5(1),
2009,18-25.
Jodoin, M.G.,and Gierl, M.J.(2001). Evaluating Type I Error and Power Rates Using an
Effect Size Measure With the Logistic Regression Procedure for DIF
Detection. Applied Measurement in Education,14(4),329 – 349.
Zumbo, B.D. (1999). A handbook on the theory and methods of differential item
functioning (DIF) : Logistic regression modeling as a unitary framework for binary
and Likert-type item scores. Ottawa, Canada : Directorate of Human Resources
Research and Evaluation, Department of National Defense. Retrieved
From.