ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบ Single Group Pretest – Posttest Design โดยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา)จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE) จำนวน 12 แผน รวม 80 ชั่วโมง 2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.แบบประเมินผลงานศิลปะ 4. แบบสังเกตพฤติกรรมกระบวนการเรียนรู้ และ 5.  แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหลังจากที่เรียนวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลงานศิลปะสูงขึ้นหลังจากการเรียนวิชาศิลปะ(ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE) 3) ผู้เรียนปรากฏพฤติกรรมกระบวนการเรียนรู้ในภาพรวม พบว่า พฤติกรรมผู้เรียนขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความถี่มากที่สุด ได้แก่ผู้เรียนเก็บทำความสะอาด รักษาอุปกรณ์การเรียน (ร้อยละ 91.89) ส่วนพฤติกรรมที่มีความถี่น้อยที่สุด ได้แก่ ผู้เรียนมีการซักถามเชิงเปรียบเทียบกันภายในกลุ่มเพื่อหาแนวคิดใหม่ (ร้อยละ 83.07) และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนศิลปะ(ทัศนศิลป์) ตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE) พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?\bar{x}= 2.57)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ภาษาไทย
กระทรวงวัฒนธรรม. 2559. ร่างกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านวัฒนธรรม ตามกรอบทิศทาง
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. 2551.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เกษร ธิตะจารี. 2542.กิจกรรมศิลปะสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. 2542.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 . กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟิก.
ประเทิน มหาขันธ์. 2531. ศิลปะในโรงเรียนประถม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. 2545.กระบวนการเรียนการสอนทัศนศิลป์ในระดับประถมศึกษาสำหรับครูยุคใหม่.ไทยวัฒนาพาณิชย์ กรุงเทพมหานคร.
ลัดดา ภู่เกียรติ. 2542. การสอนโดยการใช้โครงงาน เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เลิศ อานันทนะ. 2518. ศิลปะกับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต.
ศิริชัย กาญจนวาสี . 2536. การวิจัยเชิงทดลองทางพฤติกรรมศาสตร์ : การออกแบบและการวิเคราะห์ข้อมูลในคณะครุศษสตร์ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาจากงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์. 2546. วิถีการเรียนรู้:คุณลักษณะที่คาดหวังในช่วงวัย . กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟิก.
สุภลักษณ์ วงศ์หน่อ. 2557. ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสำหรับเด็ก
อายุ 7 – 9 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). สำนักนายกรัฐมนตรี. วันที่ค้นข้อมูล 3 เมษายน 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.ldd.go.th/www/files/78292.pdf
ภาษาอังกฤษ
Chrystyna Z. Holman. 2003. The effectiveness of art activities in developing school
readiness skills. Island : University of Prince Edward.
Elizabeth Manley Delacruz and Phillip C. Dunn. 1996. The Evolution of Discipline-Based
Art Education. Journal of Aesthetic Education. 30 : 67-82.
Piaget, J. 1964. Cognitive Development in Children : Piaget Development and Learning.
Journal of Research in Science Teaching. 2 : 176 – 186.