ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กับความผูกพันในงานของพนักงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด

Main Article Content

สงกรานต์ เลิศศุภวงศ์
ผศ.ดร.อริสา สำรอง

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และความผูกพันในงานของพนักงาน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด


                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเครื่องนี้เป็นพนักงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จำนวน 240 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


                ผลการวิจัยพบว่า (1)พนักงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี อายุงานระหว่าง 6-8 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อย และส่วนใหญ่มีระดับรายได้ 15,001 – 20,000 บาท (2) พนักงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความผูกพันในงานไม่แตกต่างกัน (3) การรับรู้ความสามารถในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (4) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

สุภาพร เหมือนละม้าย. (2555). การรับรู้ความสามารถในตนเอง คุณลักษณะของงาน บรรยากาศองค์การ ที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุนีภร เปรมศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในงาน การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ และบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของพยาบาลสถาบันจิตเวชศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นรุตม์ พรประสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน ความพึงพอใจในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจตามทฤษฎีการกำหนดด้วยตนเองและความผูกพันในงาน : กรณีศึกษาบริษัทกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วินิตา ไชยมงคล. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง เชาวน์อารมณ์ และความผูกพันในงาน : กรณีศึกษาบุคลากรของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออก, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิกานต์ เอี่ยวเล็ก. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การสนับสนุนจากองค์การ กับความผูกพันในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W. H. Freeman.
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.
Eisenberger, R., Rhoades, L., & Armeli, S. (2001). Affective commitment to the organization: The contribution of perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 86(5), 825-836.
Luthans, F. (1989). Organization behavior (8th ed.). New York: McGraw-Hall.
Schaufeli, W. B., & Salanova, M. (2007) Work engagement: Anemerging psychological concept and its implications for organizations. Retrieved October 1, 2011 from https://www.wont.uji.es/wont/downloads/capitilos_libro/internacionales/2007SCHAUFELI01CI.pdf
Schaufeli, W. B., & Salanova, M., Gomzalez-Roma, V., & Bakker, A. B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two sample confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness Studies,3(1), 71-92.