การพัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6
Main Article Content
บทคัดย่อ
57253308 : สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
คำสำคัญ : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ/การใช้คำถาม/มัลติมีเดีย/วิจารณญาณ/มัธยมศึกษาปีที่6
เกียรติพร สินพิบูลย์ : การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผศ.ดร.ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย , อ.ดร.อธิกมาส มากจุ้ย และ ผศ. ดร.ปฤณัต นัจนฤตย์. 170 หน้า.
วัตถุประสงค์งานวิจัย 1.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดีย 2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่2 โรงเรียนทวารวดี จำนวน 1 ห้องเรียน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากโดยให้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอนจำนวน 8 แผน แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย( X )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ ค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดียสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 คือด้านการตัดสินใจลงข้อสรุป ลำดับที่ 2 คือด้านระบุปัญหา และลำดับที่ 3 คือด้านพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล 2.ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการพัฒนาการคิดแบบวิจารณญาณโดยใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดีย โดยภาพรวมและในรายด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีดังนี้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ลำดับถัดมาคือด้านขั้นตอนการจัดการเรียนรู้และด้านประโยชน์ที่ได้รับความรู้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
Article Details
References
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2546
กิดานันท์ มลิทอง.(2548).ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์.(2559). “แนวคิดการจัดการเรียนรู้:การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง”วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.ปีที่14ฉบับที่1(มิถุนายน-ตุลาคม ):97
ดารณี บุญวิก.(2543).”การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่3”วิทยานิพนธ์ปริญญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์
ทิศนา แขมมณี . ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่18.
กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2557
ธนภูมิ พุ่มจันทร์. (2555). “การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประเด็นทางสังคม ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน”วิทยานิพนธ์
ปริญญา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์.ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว,2551
มาเรียม นิลพันธุ์.วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร,2558
โรงเรียนทวารวดี.แบบสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น(การศึกษาขั้นพื้นฐาน)ระดับสถานศึกษาโรงเรียนทวารวดี,2558
วัชรา เล่าเรียนดี.เทคนิคยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
นครปฐม:คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร,2554
วิจารณ์ พานิช.(2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพ:มูลนิธิสดศรีสฤษดิสงศ์
วิชัย วงษ์ใหญ่.(2558).การโค้ชเพื่อการรู้คิด.กรุงเทพ:จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.เข้าถึงวันที่ 10 มกราคม 2559 เข้าถึงได้จาก
www.ipst.ac.th
สิริวรรณ ศรีพหล.การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษาเรื่องการจัดการเรียนการ
สอนในสถานศึกษา.นนทบุรี:สุโขทัยธรรมาธิราช,2542
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ.เข้าถึงวันที่ 10 มกราคม 2559 เข้าถึงได้จาก
http://thaihealth.or.th
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.เอกสารแนวทางการดำเนินการศึกษาระดับชาติ(ออนไลน์).
เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559.เข้าถึงได้จาก http://bet.obec.go.th/
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579.กรุงเทพฯ:พริกหวานการพิมพ์.
2559
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.เข้าถึงวันที่ 10 มกราคม 2559 เข้าถึงได้จาก www.nso.go.th
อุษา มะหะหมัด(2559). “การอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษา”วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.ปีที่14ฉบับที่1(มิถุนายน-ตุลาคม):97
Dressel and Mayhow .(1957).General Education:Exploration in Evaluation.
Washington.D.C.:American Courcil on Education
Norris and Ennis (1985).Evaluating Critical thinking The practitioners’s guide to teaching
thinking series.Pactic GROVE,CA.Midwest Publications