การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารไทยมุสลิม การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารไทยมุสลิม

Main Article Content

วรวุฒิ วรวุฒิ วชิรวรกุลชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารไทยมุสลิม โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งสิ้น 20 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยว ประธานกลุ่มท่องเที่ยว คนในชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวเชาญด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมอาหารมุสลิม การรวบรวมข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารไทยมุสลิม ประกอบด้วย การจัดตั้งองค์กรชุมชนเพื่อจัดการท่องเที่ยว  การเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหาร การสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวโดยใช้อาหารท้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและ การเรียนรู้และกิจกรรมการท่องเที่ยว ส่วนเงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารไทยมุสลิม ประกอบด้วย  การมีส่วนร่วม  การกระจายผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม ผู้นำกลุ่มเชิงสร้างสรรค์  การสนับสนุนจากภายนอก  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้วัฒนธรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ภาษาไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). “ภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว” ฉบับที่ 6 ต.ค.-ธ.ค.2559
ชลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2555). “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาพัฒน. ภาควิชาพื้นฐาน การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพย์สุดา พุฒจร. (2556). “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดย ชุมชนเพื่อ การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา. ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย .มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นพพร จันทรนำชู, ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ, เดชาพันธ์ รัฐศาสนศาสตร์. (2557). “การพัฒนายุทธศาสตร์การ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด ตามแนวทาง เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 34,(4 ตุลาคม – ธันวาคม).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2560 สืบค้นจาก http://www.ldd.go.th/www/files/78292.pdf
บุญยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2559). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า แนวคิดและทฤษฏีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที 2.พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเนรศวร.
พรรณี สวนเพลง และคณะ (2556). รายงานการวิจัยยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ อาหาร. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
พิมพ์รวี โรจน์รุ่งสัตย์.(2553).การท่องเที่ยวชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อรวรรณ บุญพัฒน์ .(2557) “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ นวัตกรรมการท่องเที่ยว และบริการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาษาต่างประเทศ
Canoves, Gemma and Raul Suhett de Morais.(2011). New forms of tourism in Spain: wine,gastronomic and rural tourism.In Tourism and Agriculture:New Geographies of Consumption, Production and Rural Restructuring (pp.205-219).UK: Routledge.
Kivela, J. and Crotts, J. C. (2006). “Tourism and gastronomy: Gastronomy’s influence on how tourists experience a destination.” Journal of Hospitality and Tourism Research. 30 354–377.
Richards, G.& Wilson,J.(2006) Developing creativity in tourist experiences: a solution to the serial reproduction of culture? Tourism Management,27,1408-1413
Tsepang Mabasia Shano. (2015). “Developing heritage and cultural tourism in Lesotho :The cave village.” A mini dissertation in partial fulfillment of the requirement of the Magister Hereditatis Culturaeque Scientiac:Heritage and Cultural Tourism. University of Pretoria Faculty of Humanities.