ผลของโปรแกรมฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชที่มีต่อความรู้การรับรู้ และความสามารถในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครู

Main Article Content

เจษฎา บุญมาโฮม Jesada Boonmahome
อรพิณ พัฒนผล Orapin Pattanaphon
จิราภรณ์ อนุตธโต Jiraporn Anuttato
ปัณรสี เอี่ยมสะอาด Panrasee Leamsaard

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครูหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบการรับรู้ในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครูก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรม และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครูหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูระดับประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม จำนวน 51 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ช 2) แบบทดสอบความรู้ในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติ 3) แบบวัดการรับรู้ในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติ และ 4) แบบประเมินความสามารถในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความรู้ในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครูหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. การรับรู้ในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครูหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความสามารถในการสร้างหนังสือนิทานสามมิติของครูหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เจษฎา บุญมาโฮม Jesada Boonmahome, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Associate Professor

References

กรรณิการ์ แก่นเกษ และวราพร เอราวรรณ์. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26 (2), 77-90.

จริญา จำใบรัก และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2562). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การใช้ อินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6 (2), 91-100.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2556). การพัฒนาสมรรถภาพครูในการสร้างสื่อการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10 (46), 41-50.

เจษฎา บุญมาโฮม และปราณี สีนาค. (2566). ผลของโปรแกรมฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชที่มีต่อความรู้และความสามารถในการสร้างแบบฝึกทักษะของนักศึกษาครู. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5 (8), 1079-1092.

เจษฎา บุญมาโฮม, จีรารัตน์ ชิรเวทย์ และปราณี สีนาค. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตชุดการเรียนรู้ของครูวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12 (2), 159-189.

เจษฎา บุญมาโฮม และคณะ. (2565). ชุดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนสระสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. นครปฐม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชนันณัฏษ์ บุญอินทร์ และมนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออ่านประกอบสามมิติ (pop up) เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19 (4), 95-108.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2561). หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์สื่อการสอนกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 8). (หน้า 1-41). นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดวงดาว รุ่งเจริญเกียรติ และเจษฎา บุญมาโฮม. (2565). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชที่มีต่อความรู้และความสามารถในการสร้างสื่อสําหรับชั้นเรียนรวมของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 13 (2), 109-128.

ตวงแสง ณ นคร และศยามน อินสะอาด. (2558). การใช้สื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธราเทพ เตมีรักษ์ และอารยา ปิยะกุล. (2566). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11 (4), 1288-1300.

ปิยนุช โทมล. (2567). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ โดยใช้หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ เพื่อลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 18 (1), 81-95.

ภัททิรา เดชฤกษ์ปาน, สราญจิต อ้นพา, ณัฐิกา สุริยาวงษ์, พัชรพล ชิดชม, ศศิธร ภู่วาว และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2565). การศึกษาประสิทธิผลของชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพด้วยการศึกษาชั้นเรียนร่วมกับการโค้ช

เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5 (2), 87-104.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยศระวี วายทองคํา และคณะ. (2563). นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล, วรานันท์ อิศรปรีดา, กวีเชษฐ์ เปีย, ทยิดา เลิศชนะเดชา และปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2566). กลยุทธ์การโค้ชจากผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Co-5 STEPs) ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 10 (1), 101-114.

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7 (9), 373-386.

วิกานดา ชัยรัตน์. (2563). การศึกษาและพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อลดสภาวะของภาระทางปัญญา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสื่อทํามือสําหรับครูผู้สอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนโครงการตามพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขตพื้นที่เกาะจังหวัดสตูล. วารสารอัล-ฮิกมัฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9 (17), 155-171.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรรถพงษ์ ผิวเหลือง, พระพิทักษ์ ฐานิสฺสโร และชุลีพร นาหัวนิล. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีพครู โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการโค้ช เพื่อพัฒนาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 7 (1), 230-240.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อาภรณ์ ชุนดี. (2562). สื่อประดิษฐ์ยังมีความจำเป็นหรือไม่ในยุคดิจิทัล. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1 (1), 63-76.

เอนก นรสาร, สําราญ กําจัดภัย และพจมาน ชํานาญกิจ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ โดยบูรณาการแนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเอง และการกํากับตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนของครู วิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6 (1), 106-114.

Ahmadi, F. et al. (2018, January). The development of pop-up book media to improve 4th grade students’ learning outcomes of civic education. Asia Pacific Journal of Contemporary Education and Communication Technology, 4 (1), 42-50.

Alfakih, A. H. (2017, May-June). A training program to enhance postgraduate students’ research skills in preparing a research proposal in the field of curriculum and instruction methods of Arabic Language. IOSR Journal of Research & Method in Education (IOSR-JRME), 7 (3), 1-6.

Hass, S. A. (1992, September). Coaching: Developing. Journal of Nursing Administration, 22 (6), 54-58.

Kise, J. A. G. (2017). Differentiated coaching: A framework for helping educators change (2nd ed.). New Delhi: Sage Publications Asia-Pacific.

Pratiwi, K. B., Sugito, M., & Subandowo, M. (2020, November). The development pop-up book to improve children’s language skills. JKTP Jurnal Kajian Teknologi Pendidikan, 3 (4), 408-414.

Salavert, R. (2015). An apprenticeship approach for the 21st century. International Journal of Education Leadership and Management, 3 (1), 24-59.