บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการประเมินวิทยฐานะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการประเมินวิทยฐานะครู 2) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของครูและผู้บริหารสถานศึกษาต่อการประเมินวิทยฐานะครู และ 3) นำเสนอบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการประเมินวิทยฐานะครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 353 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนขนาดโรงเรียน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน ประกอบด้วย ครู 3 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 9 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง การประเมินเพื่อขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ และการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตามลำดับ
- ปัญหาอุปสรรคของครูและผู้บริหารสถานศึกษาต่อการประเมินวิทยฐานะครู ได้แก่ เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะไม่ชัดเจนในช่วงเปลี่ยนผ่านมาใช้เกณฑ์ วPA ขาดความรู้เกี่ยวกับการนับระยะเวลา การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานของครูไม่เป็นไปตามระดับปฏิบัติการที่คาดหวัง ผู้บริหารไม่ตรวจสอบข้อตกลงในการพัฒนางานของครู ใช้วิธีการประเมินจากเอกสารจำนวนมาก ไม่ได้ประเมินตามสภาพจริง และไม่สามารถให้คำแนะนำในการนำเข้าไฟล์ลงระบบ DPA ได้
- บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการประเมินวิทยฐานะครู ได้แก่ การเป็นผู้นำด้านวิชาการ เป็นที่ปรึกษาให้กับครู เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ การนิเทศ เป็นผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้ ลดงานเอกสารและบูรณาการการประเมินให้ตรงตามตัวชี้วัด คัดกรองข้อมูลของครูก่อนส่งลงระบบ DPA และอำนวยความสะดวกให้กับครูในการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา (เลมที่ 124). ตอนที่ 24 ก หน้า 29-36 (16 พฤษภาคม)
ณรงค์ พิพัฒนาศัย. (2557). ติงครูไทยไร้คุณภาพทิ้งเด็ก. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2566, จาก https://www.posttoday.com/politics/322630
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การสังเคราะห์ระบบและแนวทางการปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11 (2), 160-178.
ประวิต เอราวรรณ์. (2564, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินวิทยฐานะครูแนวใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13 (1), 1-8.
พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 121). ตอนที่ 79 ก หน้า 75-77 (23 ธันวาคม)
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 121). ตอนที่ 79 ก หน้า 22-74 (23 ธันวาคม)
พิมพ์พร จารุจิตร์. (2559). ภาวะผู้นำกับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ม.ป.ท.
เพ็ญพิชชา ใจยอด. (2565). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการส่งเสริมการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฟาริดา เดชะกูล และสายฝน แสนใจพรม. (2565, มกราคม-เมษายน). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารการประเมินวิทยฐานะของครูโรงเรียนหางดงรัฐราษฎรอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 1 (1), 17-32.
วัชรพงษ์ อภิญญานุรังสี และคณะ. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18 (1), 125-141.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564 ก). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564 ข). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สุมิตร สุวรรณ. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.
อรนลิน รัชนิพนธ์. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนอนุบาลสมเด็จพระวันรัต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศิลปากร.
อำนาจ ชื่นบาน. (2564). การดำเนินงานบุคคลของโรงเรียนวิสุทธรังษีจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.