รูปแบบการจัดการชุมชนสุขภาวะ บนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์เพื่อรองรับนาฏยอลังการภูมิภาคตะวันตก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนสุขภาวะ บนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์เพื่อรองรับนาฏยอลังการภูมิภาคตะวันตก ทำการศึกษาในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ชุมชนบ้านเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงชุมชนบ้านพุนํ้าร้อน จังหวัดราชบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปราชญ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีองค์ความรู้ด้านการจัดการสุขภาพชุมชน 2) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข 3) กลุ่มผู้ให้บริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ ได้แก่ ตัวแทนสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ตัวแทนสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่ และนักวิชาการสาธารณสุขในพื้นที่ 4) กลุ่มผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการในพื้นที่ และ 5) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มท่องเที่ยว ผู้นำที่มาจากสถาบันศาสนาในชุมชน ผู้นำจากสถาบันการศึกษาในชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการชุมชนสุขภาวะ บนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ เพื่อรองรับนาฏยอลังการภูมิภาคตะวันตก ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย การยกระดับภูมิปัญญาด้านระบบบริการการแพทย์พื้นบ้าน การยกระดับระบบการแพทย์และการดูแลตนเองของภาคประชาชน การยกระดับการให้บริการระบบการแพทย์สมัยใหม่ และแนวทางการจัดการชุมชนสุขภาวะบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ มีเครือข่ายคณะกรรมการจัดการชุมชนสุขภาวะ กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมจัดการชุมชนสุขภาวะ และกิจกรรมการจัดการชุมชนสุขภาวะของชุมชน ได้แก่ กิจกรรมคัดกรองภาวะสุขภาพของชุมชน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านความปลอดภัยในพื้นที่ กิจกรรมสร้างทีมนวดสปาด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในพื้นที่ และกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเกิดความต่อเนื่องในพื้นที่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs). นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ขจร ตรีโสภณากร. (2558). รูปแบบการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุติมา ทองวชิระ. (2561). ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชนท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร, 5 (พิเศษ), 51-61.
ถนัด ใบยา. (2563). การพัฒนาชุมชนจัดการสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาพอเพียง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 16 (2), 25-36.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 7 (2), 392-406.
มุกดา สุทธิแสน. (2560). พัฒนาการการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้บริบทของชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกรณีศึกษา ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรพงษ์ ด้วงน้อย. (2562). น้ำพุร้อน: นวัตกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่: กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
วิรัตน์ คำสีจันทร์ และคณะ. (2554). การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). รายงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
อรรถพล ศิริเวชพันธุ์. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ (new normal) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ชุมชนหนองฮะ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12 (1), 58-75.
Coghlan, D. & Brannick, T. (2005). Doing action research in your own organization (2nd ed). Thousand Oaks, CA: Sage.
World Tourism Organization. (2020). Growth in international tourist arrivals continues to outpace the economy. UNWTO World Tourism Barometer, 18 (1), 1-12.