การบริหารที่ส่งเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

สุภาพ วรรณฤมล Supap Wannarumol
ชัยยุธ มณีรัตน์ Chaiyut Maneerat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ 2) เสนอแนะแนวทางการบริหารที่ส่งเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประมวลผลการสำรวจความสุขในการทำงานของบุคลากร ในระยะ 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2566) และแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในรอบ 5 ปี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ความผูกพันในหน่วยงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน การทำงานเป็นทีม สภาพแวดล้อมการทำงาน รายได้และสวัสดิการ และหลักความสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงาน

  2. แนวทางการบริหารที่ส่งเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการทำงานทั้งด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับจิตวิทยาสังคม ให้มีความพร้อมเหมาะสมและเอื้อต่อการทำงาน 2) ด้านการบริหารรายได้และสวัสดิการ ควรจัดสรรสวัสดิการให้ทุกคนได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมและเท่าเทียมกัน ได้รับรายได้ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน 3) ด้านความสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงาน ควรบริหารภาระงานให้เหมาะสมกับเวลาในการทำงานและมีกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมให้บุคลากรได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

ข้อค้นพบสำคัญที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้สรุปได้ว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมการทำงาน รายได้และสวัสดิการและหลักความสมดุลของการใช้ชีวิตและการทำงาน และมีความประสงค์ให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานให้เกิดจูงใจในการปฏิบัติงาน ต้องการสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกันและมีวัฒนธรรมองค์แบบเกื้อกูลกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2559). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ศูนย์องค์กรสุขภาวะสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ณัฐชยา ศรีจันทร์. (2560). ความสุขในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทเอพี ออโต้ มาสเตอร์ จํากัด. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์กร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2545). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ปัทมาวรรณ จินดารักษ์ และสายสุนีย์ เกษม. (2562). สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความหลากหลายของกลุ่มวัย. วารสารนักบริหาร, 39 (1), 3-11.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กองนโยบายและแผน. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นครปฐม: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กองนโยบายและแผน. (2563). ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. นครปฐม: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กองนโยบายและแผน. (2564). ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. นครปฐม: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กองนโยบายและแผน. (2565). ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครปฐม: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กองนโยบายและแผน. (2566). ความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นครปฐม: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิรสิทธิ์ ทุมสา และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทผู้ผลิตยานยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 5 (1), 67-75.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ.

สิวลี มุ่งสูงเนิน. (2562). การศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงานบริการภาคพื้นดินของสายการบินแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness: Institute of work psychology. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.