การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิก

Main Article Content

ฉัตรฑริกา สุริยะกันธร Chattariga Suriyakanthon
ศศิวรรณ สุวรรณกิตติ Sasiwan Suwankitti
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย Jittirat Saengloetuthai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิกก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิกหลังการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดแหลมมะเกลือ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสอนคิดอุปนัยด้วยรูปภาพและคำร่วมกับผังกราฟิกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 2.93, S.D. = 0.20)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร จันทะกล. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการอ่านและการเขียนจากภาพ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2562). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์ และวัชรา เล่าเรียนดี. (2563). การออกแบบระบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ทักษิณ คุณพิภาค. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ความพึงพอใจต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งทิวา ฉิมกูล. (2562). ผลการใช้วิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสระไคร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โรงเรียนวัดแหลมมะเกลือ. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2562. นครปฐม: โรงเรียนวัดแหลมมะเกลือ.

วัลยา อ่ำหนองโพธิ์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชา พัฒนาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สง่า วงค์ไชย. (2562, มีนาคม-เมษายน). Picture Word Inductive Model: รูปแบบการสอนอ่านและเขียนสำหรับเด็กไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12 (2), 1113-1130.

สง่า วงค์ไชย. (2564, กรกฎาคม-กันยายน). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนพิกเจอร์เวิร์ดที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18 (82), 1-11.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (2564). รายงานการจัดการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. นครปฐม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.

สุพัตรา ศรีธรรมมา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และวิไล พิพัฒน์มงคลพร. (2558, มิถุนายน-ตุลาคม). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบพิคเจอร์เวิร์ด Picture Word Inductive Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13 (1), 17-22.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1993). Research in education. Boston: Allyn & Bacon.

Jiang, X. (2014). Vocabulary learning through use of the picture word inductive model for young English learners in China: A mixed methods examination using cognitive load theory. Doctoral dissertation. Curriculum and Instruction, Florida International University.

Joyce, B., Weil, M. & Calhoun, E. (2015). Model of teaching. New Jersey: Pearson Education.

Swartzendruber, K. L. (2007). The picture word inductive model and vocabulary acquisition. Kansas: Wichita State University.

Zhao, M. & Lornklang, T. (2019, August). The use of picture word inductive model focusing on Chinese culture to promote young learners’ English vocabulary acquisition. Advances in Language and Literary Studies, 10 (4), 105-111.