ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจเล่นกีฬา E-SPORT ของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย

Main Article Content

Li Fuqing
ธนกร สิริสุคันธา Thanakorn Sirisugandha

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง ทัศนคติ และความตั้งใจเล่นกีฬา E-SPORT ของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และทัศนคติ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเล่นกีฬา E-SPORT ของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักศึกษาจีนที่ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จำนวน 327 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบ Enter


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับปานกลาง ระดับทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง และความตั้งใจเล่นกีฬา E-SPORT ของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือตอนบนประเทศไทย อยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ปัจจัยอิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และทัศนคติ ส่งผลต่อความตั้งใจเล่นกีฬา E-SPORT ของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนภัทร์ คำตุวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเล่นเกมออนไลน์ (e-sports) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศูนย์วิจัยกรุงไทย. (2565). ทำความรู้จักกับตลาดโอกาสในการอัพเลเวลของภาคธุรกิจไทย. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyDownload_475Esports.pdf

สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย. (2565). จำนวนนักศึกษาจีนที่ศึกษาในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2565, จาก http://th.china-embassy.gov.cn/th/

อีเลียส สะตาปอ, ศุภวิชญ์ คงสม, อริสรา อาแว, นูรฟาซีลา เจ๊ะนา และอาฟีฟี ลาเต๊ะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะชมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนชาวไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (8-9 กรกฎาคม หน้า 633-640). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Lantos, G. P. (2011). Consumer behavior in action: Real-life applications for marketing managers. New York: Routledge.

Likert, R. (1970). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Newzoo. (2023). Newzoo’s global games market report 2023. Retrieved 10 June 2023, from https://newzoo.com/resources/trend-reports/newzoo-global-games-market-report-2023-free-version

Nunnally, J. C. (1959). Attitude measurement. In The handbook of social psychology. (pp. 206-210). Massachusette: Addison-Wesley.