การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ 2) รับรองกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการด้านการบริหารการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านนวัตกรรมการศึกษา จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 300 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครู จำนวน 900 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม โดยการใช้ตัวแบบ 2S4M และตัวแบบ PESTLE และการวิเคราะห์ TOWS Matrix และระยะที่ 2 การรับรองกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมตามบริบทในพื้นที่อย่างมีพลวัต 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือทางการบริหารงานวิชาการร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย 3) ปรับโครงสร้างการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี 4) เร่งรัดการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และ 5) ปรับระบบการบริหารงานบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงาน
- กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้รับฉันทามติให้มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4 (1), 176-187.
ปภาวี พิพัฒนลักษณ์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเรียนร่วม ตามแนวคิดภาวะผู้นำที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 136). ตอนที่ 56 ก หน้า 102-120 (30 เมษายน)
วิไล ปรึกษากร. (2558). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย ตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2566). สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 19 พื้นที่. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566, จาก www. https://www.edusandbox.com/
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี.
สิณีณาฏ อารีย์ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2566, พฤศจิกายน). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาจุฬาครทรรศน์, 10 (11), 86-98.
Hart, A. W. (1993, August). Reflection: An instructional strategy in educational administration. SAGE Journals of Educational Administration Quarterly, 1, 22-23.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Mangkhang, C. & Jitviboon, K. (2021). Professional competence development of social studies teacher in Thailand Education Sandbox. Journal of Education and Learning, 10 (6), 112-125.
Mannay, D. & Turney, C. (2020). Sandboxing: A creative approach to qualitative research in education. In S. Delamont & M. Ward, Eds. Handbook of qualitative research in education (pp. 25-40). Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing.
Suppo, C. A. (2013). Digital citizenship instruction in Pennsylvania public schools: School leaders expressed beliefs and current practices. Philadelphia, PA: Pennsylvania University.
Wallin, D. C. (1999). A necessary strategy for rural school administration. Saskatchewan, Canada: University of Saskatchewan.