ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ กับการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กรรณิการ์ แก้วอยู่ Kannika Kaewoui
ทิพย์วัลย์ สุรินยา Tippavan Surinya

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ 2) เปรียบเทียบการปรับตัวของพนักงานตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคกับการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ ตัวอย่าง คือ พนักงานของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 240 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคอยู่ในระดับสูง ความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง และการปรับตัวอยู่ในระดับสูง 2) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน 3) ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวของพนักงานบริษัทเงินติดล้อ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2543). แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565, จาก https://goo.by/y6dJU

กฤษณีย์ โหมดทอง, ประสงค์ ตันพิชัย และระวี สัจจโสภณ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10 (2), 18-33.

ทิพย์ประภา พิศาลกิตติคุณ. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญญารัตน์ ยุวรรณะ และพวงเพชร์ วัชรอยู่. (2557). อิทธิพลของการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และการเห็นคุณค่าในตนเองต่อความผาสุกของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40 (1), 147-165.

นิดา แซ่ตั้ง. (2555). ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดในการเผชิญอุปสรรคที่มีผลต่อการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บริษัทเงินติดล้อ จํากัด (มหาชน). (2563). เปิดแผน BCP ฝ่าวิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565, จาก https://www.tidlor.com/th/tidlorstory/corporate/bcp-covid

บริษัทเงินติดล้อ จํากัด (มหาชน). (2565). ข้อมูลทั่วไป. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565, จาก https://www.tidlorinvestor.com/th/corporate-information/general-information

ปริวันท์ ลำพูล. (2558). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ความเหนื่อยหน่ายในงาน และผลการปฎิบัติงานของพนักงานวิศวกร บริษัทอสังหารมิทรัพย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์กร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณฑิตา ทัศนิยม และชนัดดา เพ็ชรประยูร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานระดับหัวหน้างานในธุรกิจบรรจุภัณฑ์. วารสารจิตวิทยา, 19 (1), 16-27.

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9 (2), 14-33.

พันธนีย์ ธิติชัย และภันทิลา ทวีวิกยการ. (2564). รายงานผลการทบทวน สถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาวน์อารมณ์ (Emotional quotient—EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (2016). Research in education (10th ed.). London: Pearson.

Bujang, M. A., Omar, E. D. & Baharum, N. A. (2018). A review on sample size determination for Cronbach’s alpha test: A simple guide for researchers. The Malaysian Journal of Medical Sciences, 25 (6), 85-99.

Johnson, M. (2023). Optimism, adversity, and performance: Comparing explanatory style and AQ. Master of Arts in Psychology Graduation, San Jose State University.

Maharani, D. M. (2022). Pengaruh adversity quotient dan quality of work life terhadap kinerja karyawan ud.sumber makmur. Master of Arts in Psychology, Undergraduate Universitas Muhammadiyah Malang.

Nicholson, N. & West, M. (1988). Managerial job change: Men and women in transition. Cambridge: Cambridge University Press.

Roy, C., Pollock, S. E. & Massey, V. H. (1999). Roy adaptation model-based research: 25 years of contributions to nursing science. Sigma: Sigma Theta Tau Intl.

Safi’i, A. et al. (2021). The effect of the adversity quotient on student performance, student learning autonomy and student achievement in the COVID-19 pandemic era: Evidence from Indonesia. Heliyon, 7 (12), 1-8.

Salovey, P. & Mayer, J. D. (1990). Emotional intelligence. Imagination, Cognition and Personality, 9 (3), 185-211.

Soysub, A. & Jarinto, K. (2018). The effects of multiple intelligent (IQ, EQ, and AQ) on employee performance: A case of ABC Automotive Co., Ltd. RMUTT Global Business Accounting and Finance Review, 2 (1), 1-12.

Stoltz, P. G. (1999). Adversity quotient: Turning obstacles into opportunities. New Jersey: Wiley.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). San Francisco: Harper & Row.