ความรู้ เจคคติ และการปฏิบัติของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการจัดการขยะในครัวเรือน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดการขยะในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ ในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยแบบสำรวจภาคตัดขวางในบุคคลตัวแทนครัวเรือนอายุ 18 ปีขึ้นไป 1 คนต่อ 1 ครัวเรือน จำนวน 735 ครัวเรือน การคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรของ Daniel (2010) ได้จำนวน 185 ครัวเรือน ได้ปรับเพิ่มจำนวนเพื่อป้องกันความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด คือ 200 ครัวเรือน และผู้มีส่วนได้เสียจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ได้มีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ด้านความรู้ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 ด้านเจตคติ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และการปฏิบัติ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดการขยะในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์
ผลการศึกษาพบว่า การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ ประชาชนมีความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.20 มีเจตคติโดยรวมอยูในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.90 การปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.99 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่หน่วยงานจัดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีความสัมพันธ์แบบเชิงลบ (r = -0.15, P-Value = 0.03)
ผลสรุปและข้อเสนอแนะ ข้อมูลระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ เป็นข้อมูลที่สะท้อนความสำคัญของสถานการณ์ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น ดังนั้นควรมีการนำข้อมูลเหล่านี้ประยุกต์สู่แผนการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจต่อวิธีการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอย: ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของจังหวัดลำพูน. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://thaimsw.pcd.go.th
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). องค์ความรู้ “การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการสิ่งแวดลอ้ม”. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จาก https://www.pcd.go.th/publication/25862
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559-2560) มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 20 กันยายน 2559, ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง. (2563). ข้อมูลการจัดการขยะในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ลำพูน: เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง.
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง. (2565). ข้อมูลการจัดการขยะในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ลำพูน: เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง.
ปัทมาภรณ์ สุวรรณปักษิน และสรัญญา ถี่ป้อม. (2559). การศึกษาการจัดการมูลฝอยที่ประสบความสำเร็จของชุมชนตนแบบ กรณีศึกษาชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9 (2), 17-25.
มธุรส บุญติ๊บ, สามารถ ใจเตี้ย และสิวลี รัตนปัญญา. (2565). ผลกระทบสุขภาพจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่, 18 (2), 77-90.
รัฐสภาไทย. (2563). นโยบายประชารัฐ: แนวทางการจัดการขยะประเทศในไทย. ค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid
วิภาณี อุชุปัจ. (2561). ความรู้ พฤติกรรมในการจัดการขยะของประชาชนและคุณภาพการบริการในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศักดิ์ศรี สืบสิงห์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของชุมชนโดยใช้กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา กรณีศึกษา: ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 22 (1), 235-252.
สิตศรรษ์ วงษ์อนันต์. (2561). การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในหมู่ 10 ตำบลขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2 (3), 32-47.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเยี่ยม. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). พิจิตร: องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเยี่ยม.
Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health sciences (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.
International Water and Sanitation Centre. (2003). The gender and water development report 2003. Netherlands: Gender and Water Alliance. Retrieved 26 December 2022, from https://www.un.org/waterforlifedecade/pdf/un_water_policy_brief_2_gender.pdf
Kaza, S., Yao, L., Bhada-Tata, P. & Van Woerden, F. (2018). What a waste 2.0: A global snapshot of solid waste management to 2050. Washington, DC: World Bank Publications.