วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์กรด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบมีส่วนร่วม (β = .480) ด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว (β = .348) ด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบกลมกลืน (β = .259) และด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งเน้นพันธกิจ (β = .211) ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรได้ร้อยละ 51.50 (R2 = .515) และ 2) คุณภาพชีวิตการทำงานด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม (β = .351) ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (β = .210) ด้านความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (β = .204) และด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล (β = .171) ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ (β = 0.138) ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรได้ร้อยละ 44.00 (R2 = .440)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2560). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
กัลยรักษ์ วิริยมาโน และนัทธ์หทัย อือนอก. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานและการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลในเครือวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล. ใน รายงานการประชุม Graduate School Conference (11 พฤศจิกายน หน้า 294-300). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กาญจนาพร พันธ์เทศ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30 (1), 53-65.
คมกริช นันทะโรจพงศ์. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรในอุตสาหกรรมโลหะ และวัสดุ: การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13 (2), 109-129.
เจตน์สฤษฎิ์ วินัยธรรม และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2564). การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3 (4), 43-53.
ชโลบล นับแสน และคณะ (2560). การสื่อสารเพื่อจูงใจของผู้นำและวัฒนธรรมองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10 (1), 401-416.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะวัฒน์ เคแสง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของครูโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเทศบาล ตำบลคลองหาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มณฑิตา ศรีนคร. (2563). ผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันยึดมั่นในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 15 (1), 120-133.
รัตนากรณ์ ภู่เจนจบ, วรสันต์ ถาวรประเสริฐ และกุลธิดา คงนวลใย. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กรณีศึกษาบริษัทเอ็กซเพิททีม จำกัด (สำนักงานสาขาสงขลา). วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1 (2), 71-78.
รุจิรา เชาว์สุโข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วริษฐา กองทรัพย์, ทิพทินนา สมุทรานนท์ และรัตติกรณ์ จงวิศาล. (2561). วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนจากองค์การ ความยึดมั่นผูกพันในงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชันวายของธนาคารแห่งหนึ่ง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10 (19), 171-187.
วัชรี คงทรัพย์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา สำนักงานใหญ่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24 (3), 104-120.
สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2557). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์การและการสื่อสารในองค์การส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุวรรณี จริยะพร. (2560). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยทองสุข. วารสารสมาคมวิจัย, 21 (1), 227-238.
Ahmed, M. & Shafiq, S. (2014). The impact of organizational culture on organizational performance: A case study of telecom sector. Global Journal of Management & Business Research, 14 (3), 21-30.
Al-Adamat, A. M. & Alserhan, H. F. (2020). Salesperson creative performance: The role of performance appraisal systems. International Journal of Scientific & Technology Research, 9 (1), 2611-2618.
Alserhan, H., Al-Adamat, A. & Al-Adamat, O. (2021). The mediating effect of employee happiness on the relationship between quality of work-life and employee intention to quit: A study on fast-food restaurants in Jordan. Management Science Letters, 11 (3), 933-938.
Amlia, D. & Febriantina, S. (2022). The effect of organizational culture, organizational justice, and organizational commitment on organizational citizenship behavior at SMK yayasan PGRI Jakarta timur teachers. Jurnal Pendidikan Ekonomi, Perkantoran, dan Akuntansi-JPEPA, 3 (1), 129-139.
Best, J. & J. Kahn (1998). Research in education (8th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Chang, W. J., Hu, D. C. & Keliw, P. (2021). Organizational culture, organizational citizenship behavior, knowledge sharing and innovation: A study of indigenous people production organizations. Journal of Knowledge Management, 25 (9), 2274-2292.
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed). New York: Routledge.
Das, B. L. & Baruah, M. (2013). Employee retention: A review of literature. IOSR Journal of Business and Management, 14 (2), 8-16.
Davoudi, R. & Gadimi, M. (2017). The relationship between work life quality and organizational citizenship behavior among primary school teachers in Zanjan. Human Resources, 5 (3), 89-93.
Denison, D. R., Haaland, S. & Goelzer, P. (2004). Corporate culture and organizational effectiveness: Is Asia different from the rest of the world?. Organizational Dynamics, 33 (1), 98-109.
Kamel, F. F., Mahfouz, H. H. & Aref, M. A. (2019). Quality of work life and organizational justice: its relation to citizenship behavior among staff nurses. Evidence-Based Nursing Research, 1 (2), 85-94.
Kandasamy, I. & Ancheri, S. (2009). Hotel employees’ expectations of quality of work: A qualitative study. International Journal of Hospitality Management, 28 (1), 328-337.
Louis, R. N. (1998). Participation productivity and quality of work life. London: Prentice-Hall.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Mohamed, H. A. E. L. et al. (2018). The relationship between quality of work life and organizational citizenship behavior among nurses at El-Mansoura Health Insurance Hospital. Zagazig Nursing Journal, 14 (1), 148-159.
Nishantha, B. & Eleperuma, N. (2018). Organizational citizenship behavior of knowledge workers in Sri Lankan context: A correlational analysis. International Journal of Economics, Commerce and Management, 6 (12), 14-43
Noori, N. & Sargolzaei, A. (2017). The relationship between quality of work life and organizational citizenship behavior among justice employees in Zahedan. World Journal of Environmental Biosciences, 6 (SI), 21-26.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Organ, D. W. (1990). The motivational basis of organizational citizenship behavior. In Staw, B. M. & Cummings, L. L., Eds. Research in organizational behavior. Greenwich, CT: JAI Press.
Organ, D. W., Podsakoff, P. M. & MacKenzie, S. B. (2006). Organizational citizenship behavior: Its nature, antecedents, and consequences. Thousand OA: SAGE Publications.
Pio, R. J. & Lengkong, F. D. J. (2020). The relationship between spiritual leadership to quality of work life and ethical behavior and its implication to increasing the organizational citizenship behavior. Journal of Management Development, 39 (3), 293-305.
Robbin, S. & Judge, T. A. (2009). Organizational behavior (12th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Singh, H. (2017). Quality of work life & organizational citizenship behavior: An overview. Ascent International Journal for Research Analysis, 2 (3), 4.1-4.8.
Thorndike, M. R. et al. (1991). Measurement and evaluation in psychology and education (5th ed.). New York: Macmillan.
Tore, E. & Cetin, E. (2022). The mediating role of organizational culture in the effect of school Managers’ authentic leadership behaviors on teacher’s organizational citizenship behavior. International Online Journal of Educational Sciences, 14 (2), 279-295.
Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it. Sloan Management Review, 15 (1), 11-21.