ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับคุณลักษณะเกษตรกรปราดเปรื่องของเกษตรกรในภูมิภาคตะวันตก

Main Article Content

นันทนา ทองกลั่น Nantana Tongklun
ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ Supharuk Aticomsuwan
ระวี จูฑศฤงค์ Ravee Chudasring

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของเกษตรกรในภูมิภาคตะวันตก 2) ศึกษาคุณลักษณะเกษตรกรปราดเปรื่องของเกษตรกรในภูมิภาคตะวันตก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับคุณลักษณะเกษตรกรปราดเปรื่องของเกษตรกรในภูมิภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกรในภูมิภาคตะวันตก จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล


ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรภูมิภาคตะวันตกมีรูปแบบการเรียนรู้แบบปรับปรุงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.30 รองลงมา ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้แบบคิดเอกนัย คิดเป็นร้อยละ 35.00 รูปแบบการเรียนรู้แบบดูดซึม คิดเป็นร้อยละ 8.00 และรูปแบบการเรียนรู้แบบคิดอเนกนัย คิดเป็นร้อยละ 7.80 ตามลำดับ 2) เกษตรกรมีคุณลักษณะเกษตรกรปราดเปรื่องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) รูปแบบการคิดอเนกนัยมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะเกษตรกรปราดเปรื่องทางลบในระดับต่ำ (r = -.125*) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). คู่มือขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2561, จาก http://www.trat.doae.go.th

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). จำนวนครัวเรือนเกษตรกร ปี 2560. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2561, จาก https://data.go.th/dataset/2560

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และSmart Officer. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2561, จาก http://www.opsmoac.go.th

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนการพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก http://www.oae.go.th

กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). คู่มือดำเนินการโครงการพัฒนาบุคลากรในงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://new.research.doae.go.th

กัมพล ทองเรือง. (2556). รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Kolb ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/276594

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา. (2564). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2565, จาก https://www.senate.go.th

ฉัฐสิณี หาญกิตติชัย และชาตรี บุญนาค. (2563). การพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องและองค์กรเกษตรกรต้นแบบ. วารสารเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2 (1), 97-108.

ทรงเกียรติ อิงคามระธร และคณะ. (2561). การพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดราชบุรีให้เป็น Smart Farmer โดยการเรียนรู้จาก Smart Farmer ต้นแบบ. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562, จาก https://www. irdmcru.mcru.ac.th

ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นารา กิตติเมธีกุล, วรางคณา ถาวรวิริยตระกูล และธนชาติ เราประเสริฐ. (2559). ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรตัวอย่างในจังหวัดหนองคาย. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (2 กุมภาพันธ์ หน้า 419-428). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนู วัลยะเพชร์. (ม.ป.ป.). การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกกับแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ห้า (พ.ศ. 2525-2529). ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2560, จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges

มาลีนี จุโฑปะมา. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. บุรีรัมย์: เรวัตการพิมพ์.

ละเอียด ศิลาน้อย และกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2561). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8 (15), 118-119.

ลัทธพร รัตนวรารักษ์. (2562). Digital technology กับการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.pier.or.th/abridged/2019

วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. (2546). หลักจิตวิทยาในการส่งเสริมการเกษตร. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.agecon-extens.agri.cmu.ac.th/

วิชาญ เลิศลพ. (2554). แบบการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562, จาก http://www.ssruir.ssru.ac.th

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2561). ทะเบียนเกษตรกร ปี 2561. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จากhttps://data.go.th/dataset/2560

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). หนี้สินครัวเรือนเกษตร ปี 2562. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก http://service.nso.go.th

Franz, I. N. (2010). How farmers learn: Implications for agricultural educations State University Journal of Rural Social Sciences, 25 (1), 37-59.

Gaurav, P. et al. (2017). Learning styles for designing distance learning modules for farmers of hill districts of Uttarakhand. Indian Journal of Extension Education, 17 (3), 4-5.

Kamarulzaman, W. (2012). Critical review on effect of personality on learning styles. In Proceeding of the 2nd International Conference on Arts, Social Science & Technology Penang, Malaysia (3-5 March pp.1-7). Penang: University Tunku Abdul Rahman.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.