ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดความวิตกกังวลในการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ธันยนันท์ ตั้งสายัณห์ Thanyanan Tungsayan
นิรนาท แสนสา Niranart Sansa
นิธิพัฒน์ เมฆขจร Nitipat Mekkhachon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่ม และเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับคำแนะนำแบบปกติ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 20 คน ได้มาโดยความสมัครใจ และสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความวิตกกังวล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดความวิตกกังวลในการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา จำนวน 11 กิจกรรม ที่มีคุณภาพในภาพรวม มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด เท่ากับ 4.68 และการให้คำแนะนำแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมายโดยใช้สถิติวิลคอกซัน และการทดสอบแมน-วิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่ม นักเรียนกลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ภายหลังการทดลอง นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มมีความวิตกกังวลต่ำกว่านักเรียนที่ได้รับการให้คำแนะนำแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญจิรา ชลธารนที. (2561). ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในวัยรุ่นตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวีณา ยอดสิน. (2551). ผลของการใช้โปรแกรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพตามทฤษฎีการตัดสินใจของเกอแลตต่อการพัฒนาการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยาจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2558). การให้การปรึกษาและแนะแนว ใน สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

พัฒนฉัตร วิสิเขตต์การณ์ และมฤษฎ์ แก้วจินดา. (2562). โปรแกรมการศึกษาต่อและอาชีพที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13 (1), 183-191.

ลักขณา สริวัฒน์. (2560). ทฤษฎีและเทคนิคการให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วันวิสา ชมภูวิเศษ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สิริวิภา ปิงรัมย์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบ TCAS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Clark, D. A. & Beck, A. T. (2011). Cognitive therapy of anxiety and depression: Convergence with neurobiological findings. Trends in Cognitive Sciences, 14 (9), 418-424.

Corey, G. (2008). Theory and practice of group counseling (2nd ed.). California: Wadsworth Publishing.

George, R. L. & Dustin, D. (1995). Counseling: Theory and practice (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Spielberger, C. D. (1996). Anxiety and behavior. New York: A academic Press.

Stuart, G. W. (2014). Principles and practice of psychiatric nursing (9th ed.). St. Louis: Elsevier.