ผลของการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชที่มีต่อความรู้และความสามารถในการสร้างสื่อสำหรับชั้นเรียนรวมของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้การสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวมของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชและหลังกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวมของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้จากสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวมของนักศึกษากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชในรายวิชาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนที่มีภาวะบกพร่อง 2) แบบทดสอบความรู้ในการสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวม 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวม และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- ความรู้ในการสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวมของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ชสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถในการสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้นเรียนรวมของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นร่วมกับการโค้ช สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคำนามของนักเรียนชั้นเรียนรวมที่เรียนด้วยสื่อของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กมล โพธิเย็น. (2563). จิตวิทยาการเรียนรู้. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กานตพงศ์ จันทร์ทอง และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์สาระประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาร่วมกับการโค้ช. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10 (2), 24-31.
จินตหรา พงศ์พิพัฒน์. (2562). หน่วยที่ 5 สื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการดูแลปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจษฎา บุญมาโฮม. (2564). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู: จิตวิทยาสัมพันธภาพเชิงกระบวนทัศน์. นครปฐม: สไมล์ พริ้นติ้ง & กราฟิกดีไซน์.
ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การวิจัยเชิงกรณีศึกษา: การพัฒนานักศึกษาโดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในการผลิตสื่อแอนิเมชั่นเพื่อการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8 (1), 83-97.
ณัฏฐนิธ กาลพัฒน์, สุวิทย์ ภาณุจารี และวีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย. (2565, พฤษภาคม–สิงหาคม). การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยทักษะการโค้ช. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6 (2), 580-595.
ดนยา อินจำปา และคณะ. (2561). การศึกษาพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์. (2561). อิทธิพลของโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีสมรรถนะของครูผู้สอนเพื่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล วัลย์ศรี และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องคำบุพบทในประโยคโดยจัดกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับเทคนิคการโค้ช. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท), 26 (1), 13-21.
นิภาพร กุลสมบูรณ์ และสุวิมล ว่องวาณิช. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). Active learning: จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สู่ปรัชญาและทฤษฎีรากฐาน ตั้งทิศให้ถูกเพื่อไม่ทิ้งครูให้หลงทางอีกต่อไป. วารสารครุสภาวิทยาจารย์, 3 (2), 1-17.
พลรพี ทุมมาพันธ์. (2565). การศึกษาเพื่อสุขภาวะของเด็ก (ไม่)พิเศษ. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรี จิ๋วพัฒนกุล. (2558). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
มารีนา ศรีวรรณยศ และคณะ. (2563, มีนาคม-เมษายน). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนเรียนรวมระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14 (33), 1-12.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุวดี วิริยางกูร และคณะ. (2564). การจัดการเรียนรวม. เชียงใหม่: สมาคมครูการศึกษาพิเศษไทย.
วไลพร เมฆไตรรัตน์. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9 (2), 137-151.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562, มกราคม-เมษายน). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9 (1), 135-145.
ศศิธร อินตุ่น. (2561, กรกฎาคม-กันยายน). ผลของการโค้ชต่อความรู้และความสามารถในการทำวิจัย
ในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20 (3), 196-209.
สุธิดา หอวัฒนกุล และบังอร ต้นปาน. (2549). พื้นฐานการศึกษาและการศึกษาแบบเรียนรวม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เสาวนีย์ คูณทา และจิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการโค้ชเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างเว็บไซต์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11 (1), 366-381.
อารีย์รัตน์ โนนสุวรรณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Gifkins, J. (2015). What is ‘Active Learning’ and Why is it important. Retrieved 24 September 2022, from https://www.e-ir.info/2015/10/08/what-is-active-learning-and-why-is-it-important/
Hass, S. A. (1992, September). Coaching: Developing. Journal of Nursing Administration, 22 (6), 54-58.
Kise, J. A. G. (2017). Differentiated coaching: A framework for helping educators change (2nd ed.). New Delhi: Sage Publications Asia-Pacific.
Knight, J. (2009). Coaching: Approaches and perspectives. California: Corwin Press.
Michael, J. A. & Modell, H. l. (2003). Active learning in secondary and college science classrooms: A working model for helping the learner to learn. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Mukherjee, S. (2014). Corporate coaching: The essential guide. New Delhi: Sage Publications.
Salavert, R. (2015, January). An apprenticeship approach for the 21st century. International Journal of Education Leadership and Management, 3 (1), 24-59.