การวิเคราะห์องค์ประกอบของจริยธรรมทางการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรของจริยธรรมทางการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของจริยธรรมทางการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการศึกษาตัวแปรของจริยธรรมทางการเกษตร โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สองเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของจริยธรรม
ทางการเกษตร กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในจังหวัดราชบุรี จำนวน 398 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยการสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรของจริยธรรมทางการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี มีตัวแปรจำนวน 20 ตัวแปร และ 2) องค์ประกอบของจริยธรรมทางการเกษตร มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การมีความรับผิดชอบ องค์ประกอบที่ 2 การทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่ 3 การมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน องค์ประกอบที่ 4 การมีความพอเพียง องค์ประกอบที่ 5 การแสวงหาความรู้ และ องค์ประกอบที่ 6 การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ของปี 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน). ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://www.oae.go.th
กีรติ บุญเจือ. (2542). จริยศาสตร์สำหรับผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2548). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2551). จริยธรรมธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562. (2564). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 138). ตอนพิเศษ 109 ง หน้า 9 (20 พฤษภาคม)
พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2560). การขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25, 59-60.
พัชรีย์ ศักดี. (2547). การพัฒนาความเสียสละของนักเรียนที่มีแรงจูงใจต่างกันในการเข้าร่วมกิจกรรมยุวกาชาด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิศาลจริยากร สังข์ขาว. (2562). จริยธรรม: ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5, 131-145.
รัตนวดี โชติกพนิช. (2554). จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี. (2562). สรุปข้อมูล สถิติการเกษตรสำคัญของจังหวัดราชบุรี. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562, จาก http://www.ratchaburi.doae.go.th
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2561-2562. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2562, จาก http://www.harvardasia.co.th
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2553). ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ (ฉบับที่ 2). ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562, จาก https://policebudget.go.th
สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.