การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติด ในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พรรณปพร ลีวิโรจน์ Panpaporn Leeviroj
ทัศนีย์ นิลสูงเนิน Tussanee Nilsoongnoen

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักเรียนที่ใช้สารเสพติดในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติด ในจังหวัดสมุทรปราการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติด ในจังหวัดสมุทรปราการ กับข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ 


ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่ใช้สารเสพติดเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ เป็นบุตรคนที่ 1 ในพี่น้อง 2 คน มีพ่อหรือแม่ใช้สารเสพติดประเภท กัญชา บุหรี่และเหล้าและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม สิ่งที่ใช้เสพ คือ บุหรี่ เบียร์ เหล้า กัญชา กระท่อม ด้วยเหตุผลเพราะอยากลอง เพื่อนชวนหรือคลายเครียด 2) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติดอยู่ในระดับน้อย 3) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับการศึกษา การอยู่อาศัย จำนวนพี่น้องในท้องเดียวกัน สมาชิกในครอบครัวที่ใช้สารเสพติด สารเสพติดที่คนในครอบครัวใช้ และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. สำหรับลำดับบุตรในท้องเดียวกัน กิจกรรมที่ทำในยามว่าง ไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กไทยระดับชั้นประถมปีที่ 1 พ.ศ. 2559. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก https://doc.dmh.go.th /report/compare/iqeq.pdf

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31 (3), 88-103.

ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์ และณัฐณิชา ทองใบ. (2564). องค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนที่สำคัญในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2564, จาก https://cads.in.th/cads/media/upload/1621318588

ธินัฐดา พิมพ์พวง และมานพ คณะโต. (2559). ภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสารเสพติด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27 (1), 136-146.

พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 138). ตอนที่ 73 หน้า 11 (8 พฤศจิกายน)

พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35 (3), 212-223.

ภูฟ้า เรสท์โฮม. (2563). ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในไทยกับความจริงที่ต้องแก้ไข. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://blog.phufaresthome.com/drug-issue-in-thai-teenager

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และชมรมสุขภาพวัยรุ่น. (2563). ยาเสพติดกับวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2564, จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20170410133304.pdf

วสันต์ ปวนปันวงศ์. (2564). รายงานวิจัยรัฐ สังคม ชุมชน: สถานการณ์ความเสี่ยงของเยาวชนต่อปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://cads.in.th/cads/media/upload/1621323391

วิไลลักษณ์ ลังกา และคณะ. (2560). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยภูมิคุ้มกันที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.). วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 30 (1), 101-108.

สรวิชญ์ เหล่าดรุณ, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36 (4), 146-156.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562 ก). ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ: รายงานประจำปี 2562. ค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก https://www.oncb.go.th/DocLib/%E0

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562 ข). แผนปฏิบัติการป้องกันปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติดปี 2562. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก https://www.oncb.go.th/ Home/PublishingImages/Pages/ProgramsandActivities

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. (2562). รายงานผลการดําเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก https://drive.google.com/file/d/ 1Qyr8bgcxmf6 abKtUKk_ gwQxPaXc XWfDW /view

สุวพันธุ์ คะโยธา และวุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2561). ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตเทศบาลนครสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21 (3), 84-95.

Baniashraf, S. S. & Kakabraee, K. (2017). The relationship between emotional intelligence (EI) and tendency to addiction of male and female students. Bali Medical Journal, 6 (2), 298-303.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (2006). Research in education (10th ed.). Boston: Pearson Education.

Brackett, M. A. & Mayer, J. D. (2003). Convergent, discriminant, and incremental validity of competing measures of emotional intelligence. Personality and Social Psychology Bulletin, 29, 1147-1158.

Cardona-Isaza, A. J., Velert Jiménez, S. & Montoya-Castilla, I. (2021). Decision-making styles in adolescent offenders and non-offenders: Effects of emotional intelligence and empathy. Retrieved 10 December 2021, from https://journals.copmadrid.org/

Conegundes, L. S. et al. (2020). Binge drinking and frequent or heavy drinking among adolescents: Prevalence and associated factors. Journal de Pediatria (Rio J), 9 (2), 193-201.

Fathi, A. et al. (2021). High-risk behaviors of female adolescents based on different types of intelligence. Bi-Quarterly journal of Policing & Social Studies of Women & Family, 8 (2), 450-468

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam.

Gonzalez-Yubero, S., Palomera, R. & Lázaro-Visa, S. (2021). Trait and ability emotional intelligence as factors associated with cannabis use in adolescence. Adicciones, 33 (4), 333-344.

Jurado, M. M. J. et al. (2019). Analysis of the relationship between emotional intelligence, resilience, and family functioning in adolescents’ sustainable use of alcohol and tobacco. Sustainability, 11 (10), 1-17.

Kahn, R. E. et al. (2016). Emotional intelligence and callous-unemotional traits in incarcerated adolescents. Child Psychiatry and Human Development, 47 (6), 903-917.

Kun, B. et al. (2019). The effects of trait emotional intelligence on adolescent substance use: Findings from a Hungarian representative survey. Frontier in Psychiatry, 10 (1), 367-387.

Robinette, B. & Fratzke, B. J. (2019). Does emotional intelligence impact an adolescent recovery program?. Open Access Journal Addiction and Psychology, 1 (4), 1-6.

Somayeh A. et al. (2017). Emotional intelligence, spiritual intelligence, self-esteem and self-control of substance abuse. International Neuropsychiatric Disease Journal, 9 (4), 1-8.

United Nations Office on Drugs and Crime [UNODC]. (2019). World drug report 2017. Retrieved 25 December 2021, from https://www.unodc.org/wdr2017/index.html

Yip, J. A. et al. (2020). Follow your gut? Emotional intelligence moderates the association between physiologically measured somatic markers and risk-taking. Emotion, 20 (3), 462-472.