ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำส้มคั้นสด

Main Article Content

จริยาภรณ์ โกสโลดม Jariyaporn Kosalodom
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา Chinnaso Visitnitikija

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการบริโภคน้ำส้มคั้นสด 2) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคน้ำส้มคั้นสด 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคน้ำส้มคั้นสดจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำส้มคั้นสด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภคน้ำส้มคั้นสดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการบริโภคน้ำส้มคั้นสด โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมผู้บริโภคน้ำส้มคั้นสดส่วนใหญ่ เลือกบริโภคน้ำส้มคั้นสดเพราะชื่นชอบในรสชาติ เลือกซื้อน้ำส้มคั้นสดตามร้านสะดวกซื้อ/ห้างสรรพสินค้า ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งต่ำกว่าหรือเท่ากับ 50 บาท ปริมาณหรือขนาดที่ซื้อ 150 ซีซี ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ช่วงเวลาที่ดื่มเป็นช่วงบ่าย (12.01-15.00 น.) ซื้อเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และซื้อเฉลี่ย 3 ขวดต่อครั้ง 3) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคน้ำส้มคั้นสดจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมในด้านบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและช่วงเวลาที่ดื่มน้ำส้มคั้นสดแตกต่างกัน อายุต่างกันมีพฤติกรรมในด้านเหตุผลที่เลือก สถานที่ที่สะดวกในการเลือกซื้อและช่วงเวลาที่ดื่มน้ำส้มคั้นสดแตกต่างกัน อาชีพต่างกันมีพฤติกรรมในด้านสถานที่ที่สะดวกในการเลือกซื้อ ปริมาณหรือขนาดที่ซื้อเป็นประจำและช่วงเวลาที่ดื่มน้ำส้มคั้นสดแตกต่างกัน การศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมในด้านเหตุผลที่เลือกบริโภคน้ำส้มคั้นสดและปริมาณหรือขนาดที่ซื้อเป็นประจำแตกต่างกัน รายได้ต่อเดือนต่างกันมีพฤติกรรมในด้านสถานที่ที่สะดวกในการเลือกซื้อและค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อน้ำส้มคั้นสดแตกต่างกัน 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการจัดจำหน่าย (X3) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านความถี่ในการซื้อน้ำส้มคั้นสดต่อสัปดาห์ (Y) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีสมการพยากรณ์ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = .076 + .269X3


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .151X3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนินทร โฉมศรี. (2561). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เดอะ โมเมนตัม (The momentum). (2561). “ส้ม” พืชตระกูลซีตรัสที่พัฒนาและกลายพันธุ์จนอร่อยมาถึงเราทุกวันนี้. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://themomentum.co/kitchenpedia-oranges

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ภิญรดา แก้วเขียว. (2562). การพัฒนาเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้สำหรับตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

มณีรัตน์ ใจน้อย. (2560). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำผลไม้ทิปโก้ ของคนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาร์เก็ต อินเทลลิเจนท์ (Market Intelligence). (2562). อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=271

วิจิตรา ประเสริฐธรรม. (2556). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วิภาวี สุริโย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำผัก-น้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สรสิช พวงสุวรรณ, วรัท วินิจ และเอก บุญเจือ. (2563). อิทธิพลของประเภทผลิตภัณฑ์น้ำส้มแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต่อการรับรู้คุณประโยชน์ ความเป็นธรรมชาติ และความน่าเชื่อถือ. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี ปี 2563 (20 กุมภาพันธ์ หน้า 150-162). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสรี วงษ์มณฑา. (2552). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อรุณโรจน์ เอกพณิชย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อน้ำผักและผลไม้อินทรีย์แบบสกัดเย็นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P. (2014). Marketing management (14th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.