การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 4 จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอนวิชาพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 4 จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 ด้านสถานที่ สื่อ และอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และด้านการวัดผลและประเมินผลการจัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และหาคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับ มากทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 และด้านสถานที่ สื่อ และอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- ครูพลศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกัน และครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่มีอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9 (1), 64-71.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). ครูในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39 (1), 21-22.
พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น, 12, 8-21.
พันธิการ์ วัฒนกุล. (2558). ความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4 (1), 84-94.
รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร. (2557). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา LSC 305 การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วศิน ชูชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2561). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้พลศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2561). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10 (2), 1856-1867.
สมยศ แซ่โต๋ว. (2555). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ในเครือโรงเรียนราชวินิต ปีการศึกษา 2555. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยฯ.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 4. (2560). การดำเนินงานจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 4. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2564, จาก http://www.reo3.moe.go.th/web/images/news/annoucement/22062563.pdf
สุดารักษ์ เนื่องชมภู. (2554). รายงานวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา RTV 425 ธุรกิจกองถ่าย สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เหงียน ถิ ทู ฮ่า. (2561). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดกาวบั่ง ประเทศเวียดนาม. วิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6 (2), 14-24.
อนันต์ เถื่อนเนาว์. (2561). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” (30 พฤศจิกายน หน้า 937-943). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2558). การวัดและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรทัย วงค์คำ. (2563). กระบวนการจัดการเรียนการสอนของพลศึกษา. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก https://sites.google.com/site/orathaieducation/hlaksutr-phlsuksa/krabwnkar-cadkar-reiyn-kar-sxn-khxng-phlsuksa
อัสรี สะอีดี, สิทธิศักดิ์ บุญหาญ และจิตรัตดา ธรรมเทศ. (2562). สมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. E-Journal of Education Studies, Burapha University, 1 (4), 14-24.
Anagün, S. (2018). Teachers’ perceptions about the relationship between 21st century skills and managing constructivist learning environments. International Journal of Instruction, 11 (4), 825-840.
Chineze, M. & Leesi, E. (2016). Teachers’ level of awareness of 21st century occupational roles in Rivers State secondary schools. Journal of Education and Training Studies, 4 (8), 83-92.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.