แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของ “ศูนย์แคร์” กรมราชทัณฑ์

Main Article Content

ปิยะวัฒน์ ปิ่นเจริญ Piyawat Pincharoen
ฐิติยา เพชรมุนี Thitiya Petmunee

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำงาน วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์แคร์ทั้งหมด 29 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองพฤตินิสัย ผู้ปฏิบัติงานศูนย์แคร์ในเรือนจำ 4 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางนครสวรรค์ และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 คน หน่วยงานเครือข่ายที่ปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์แคร์ จำนวน 7 คน และผู้พ้นโทษที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์แคร์ จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการทำงานของศูนย์แคร์ กรมราชทัณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ กระบวนการก่อนปล่อยตัว กระบวนการในวันปล่อยตัว และกระบวนการภายหลังปล่อยตัว 2) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของศูนย์แคร์ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการให้ข้อมูลของผู้ต้องขัง ปัญหาด้านสังคม และปัญหาด้านข้อกฎหมาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการของศูนย์แคร์ คือ การเพิ่มบุคลากรในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ในเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ยังขาดแคลน การให้ผู้พ้นโทษที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์แคร์เข้ามาบรรยายถึงประโยชน์ที่จะได้รับในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การจัดทำสื่อหรือกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างของผู้พ้นโทษที่สามารถกลับตัวได้ เพื่อให้สังคมเปลี่ยนทัศนคติ และการแก้ข้อกฎหมายเพื่อให้ผู้พ้นโทษได้มีโอกาสประกอบกิจการของตัวเองหรือได้รับการจ้างงานมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงยุติธรรม. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ระยะ 20 ปี (ปี 2560-2579). ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564, จาก https://www.moj.go.th/attachments/20170316152008_65470.pdf

กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์. (2563). สถิติการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564, จาก http://www.correct.go.th/recstats/

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

ทัศนีย์ อมาตกุล. (2548). ทัศนะต่อการฝึกวิชาชีพและสาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านการฝึกวิชาชีพ ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นรภัทร พิพัฒน์นนทยา. (2561). การดำเนินงานศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิศากร อุบลวรรณ. (2557). การกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: เวิล์ดเทรด.

พยนต์ สินธุนาวา. (2555). การศึกษาเรื่องการสืบเสาะและพินิจเชิงเปรียบเทียบ. เอกสารประกอบผลงาน กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ: กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม.

มนตรา งามวาจา. (2555). แนวทางการพัฒนาการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยศพนต์ สุธรรม. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ศุภกานดา สุขศรีวงษ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทําผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชน: ศึกษาเฉพาะกรณีเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศิสปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ. (2565). รายงานสถิติ. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2565, จาก http://www.correct.go.th/care/care/

สมนึก พงษ์เพชร และปราณี ทองคำ. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดนราธิวาส. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13 (1), 119-133.

สาธิต บุษยากุล. (2555). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชาย กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุวรรณ ใจคล่องแคล่ว. (2546). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อายุตม์ สินธพพันธ์. (2545). ตัวแบบเรือนจำที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Irwin, J. (1987). The felon. Los Angeles: University of California Press.