การใช้ชุดสื่อโภชนาการเพื่อพัฒนาความรู้ด้านโภชนาการและความสามารถในการสร้างและใช้ชุดสื่อโภชนาการสำหรับครูปฐมวัยในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านโภชนาการของครูปฐมวัยในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตกก่อนและหลังการใช้ชุดสื่อโภชนาการของครูปฐมวัย และ 2) ศึกษาความสามารถในการสร้างและใช้ชุดสื่อโภชนาการสำหรับครูปฐมวัยของครูปฐมวัย ในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตก กลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัยจำนวน 29 คน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตกได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดสื่อโภชนาการสำหรับครูปฐมวัย 2) แบบทดสอบความรู้ด้านโภชนาการสำหรับครูปฐมวัย และ 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างและใช้ชุดสื่อโภชนาการสำหรับครูปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ด้านโภชนาการของครูปฐมวัยในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตกหลังใช้ชุดสื่อโภชนาการสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความสามารถในการสร้างและใช้ชุดสื่อโภชนาการสำหรับครูปฐมวัยของครูปฐมวัยในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตกในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีผลการประเมินในระดับดีมากคือ ด้านเนื้อหา และด้านภาพรวมของการใช้และประโยชน์ของสื่อ รองลงมาคือ ด้านผู้สอน อยู่ในระดับดี
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2554). การสอนแบบมอนเตสซอรี่: จากทฤษฎีสู่แนวทางนำไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
นิติธร ปิลวาสน์. (2557). สอนลูกเรื่องการบริโภคอาหาร. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://taamkru.com/th/
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มัณฑนี แสงพุ่ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองมุสลิมในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2558). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิราณี สุขทรัพย์ และคณะ. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรม ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องการจัดประเภทและเรื่องเซตของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนทรงวิทย์ศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” (30 มีนาคม หน้า 538-546). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2557). คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.healthymediahub.com/
สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และคณะ. (2560). การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล, 32 (4), 108-120.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2555). รายงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อารีย์ นิยมทรัพย์. (2552). บทบาทของครูในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.