ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมสิ่งแวดล้อมที่ผลิตโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมสิ่งแวดล้อมที่ผลิตโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร โดยศึกษาจากบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คือ www.seub.or.th ตั้งแต่บทความแรกที่เผยแพร่จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 464 บทความ โดยอาศัยทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (critical discourse analysis) ของ Fairclough และแนวคิดเรื่องอุดมการณ์ของ Van Dijk มาเป็นแนวทางในการศึกษากลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์ และอาศัยแนวทางการพิจารณาองค์ประกอบการสื่อสารของ Dell Hymes หรือ SPEAKING มาใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมในการทำความเข้าใจกระบวนการผลิตและการกระจายตัวบท ตลอดจนการรับและตีความตัวบทของผู้บริโภค
ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมี 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้อุปลักษณ์ การใช้สหบท การใช้บทประพันธ์ และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีทางภาษาเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยตัวบทได้มีการผลิตซ้ำและตอกย้ำให้ผู้อ่านเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ รวมถึงโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเกิดจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และอารียา หุตินทะ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ บุษบกแก้ว. (2553). กลวิธีทางภาษากับการนำเสนออัตลักษณ์ของตนเองโดยกลุ่มเกย์ออนไลน์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชริดา พงษปภัสร์. (2560). 30 ปี การคัดค้านเขื่อนน้ำโจน จากความทรงจำของคนในเหตุการณ์. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.seub.or.th/bloging/work/30-ปี-การคัดค้านเขื่อนน้ำ/
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2553). จุดเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมไทย: การวิเคราะห์ช่องว่างนโยบาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2560 ก). การก่อตั้ง. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก https://www.seub.or.th/การก่อตั้ง/
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2560 ข). ลำดับชีวิต ประวัติ สืบ นาคะเสถียร. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.seub.or.th/seub/biography/story-สืบ-นาคะเสถียร/
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2561). กอดแม่วงก์: 388 กิโลเมตร จากผืนป่าสู่มหานคร. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.seub.or.th/bloging/work/กอดแม่วงก์-388-กิโลเมตร-จาก/
ลักษณพร ประกอบดี. (2562). NGOs คืออะไร?. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก http://thaingo.in.th/news/?p=content&act=detail&id_content=4291
ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ. (2541). สิ่งแวดล้อมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
ศุภณี เรียบเลิศหิรัญ. (2563). เมื่อสังคมออนไลน์มาแทนที่สังคมกระดาษ เราจะอ่านหนังสือกันแบบไหน. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://thethaiprinter.com/thai/lifestyle_detail.asp?id=695
สืบ นาคะเสถียร. (2560 ก). คำขวัญ-ป่าไม้. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.seub.or.th/seub/ผลงาน/คำขวัญ-ป่าไม้/
สืบ นาคะเสถียร. (2560 ข). เบื้องหลังการทำไม้ที่เขื่อนเชี่ยวหลาน. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.seub.or.th/seub/บทความ/เบื้องหลังการทำไม้ที่เ/
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2561). คนกับธรรมชาติ ต้องอยู่ร่วมจึงอยู่รอด (ตอนที่ 1). ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จาก https://www.seub.or.th/bloging/work/คนกับธรรมชาติ-ต้องอยู่ร/
Fairclough, N. (1995). Media discourse. London: Arnold.
Fowler, R. (1991). Language in the news: Discourse and ideology in the press. London: Routledge.