การฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการฝึกทักษะกีฬายิงปืนที่ส่งผลต่อความสามารถในการยิงปืนยาวอัดลมของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการยิงปืนยาวอัดลมของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้รับการฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการฝึกทักษะกีฬายิงปืน ประชากร คือ นักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นนักกีฬายิงปืนจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการฝึกทักษะกีฬายิงปืน และแบบทดสอบความสามารถในการยิงปืนยาวอัดลมระยะ 10 เมตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของ Bonferroni
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการยิงปืนยาวอัดลมระยะ 10 เมตรของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
จรัญ แก้วกองเกตุ. (2552). ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติที่มีผลต่อความแม่นยำในการเตะโทษ ณ จุดโทษของกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
รัตนาพร กองพลพรหม. (2547). ผลการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติและการฝึกสร้างจินตภาพที่มีผลต่อความสามารถของนักกีฬาในการปฏิบัติฟลอร์เอ็กเซอร์ไซด์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี. (2554). หนังสือรำลึกครบรอบ 20 ปี 2 ทศวรรษ โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี. เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์.
สมาคมยิงปืนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). คู่มืออบรมยิงปืนเยาวชนภาคฤดูร้อน. กรุงเทพฯ: สมาคมยิงปืนแห่งประเทศไทย.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี: การพิมพ์.
สุเนตร สุยะ. (2552). ผลการฝึกโปรแกรมสมาธิที่มีต่อความแม่นยำในนักกีฬายิงปืนยาวอัดลมทีมเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. (2551). คู่มือการทำความรู้สึกตัว. นนทบุรี: วัดสนามใน.
อิบรอฮิม ยี่สุ่นทรง. (2548). ผลของการฝึกอานาปานสติสมาธิที่มีต่อระยะเวลาการฟื้นตัวหลังจากการออกกำลังกาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฮันห์, ติช นัท. (2549). ปาฏิหาริย์ยาแห่งการตื่นอยู่เสมอ. แปลจาก The miracle of being awake (พิมพ์ครั้งที่ 17). โดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
ISSF. (2020). ISSF General Regulations. Retrieved 21 September 2020, from https://www.issf-sports.org.