การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการชี้แนะร่วมด้วยแนวคิดกัลยาณมิตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 สำหรับครูคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการชี้แนะร่วมด้วยแนวคิดกัลยาณมิตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 สำหรับครูคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น การวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูคณิตศาสตร์ จำนวน 36 คน และผู้นิเทศจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 7 ชุด โดยเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ได้แก่ 1) แบบประเมินความเที่ยงตรงของรูปแบบ 2) แบบประเมินการใช้คู่มือนิเทศ 3) แบบประเมินการใช้เอกสารประกอบ การพัฒนาครู และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ได้แก่ 1) แบบนิเทศการใช้เอกสารประกอบการพัฒนาครู 2) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย การทดสอบที และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศ พบว่า
1.1 รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศตามรูปแบบ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจและศรัทธา ขั้นที่ 2 มีเมตตาถามปัญหาและความต้องการ ขั้นที่ 3 ชวนหาแนวทางดำเนินงานอย่างตั้งใจ ขั้นที่ 4 ร่วมใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผล ขั้นที่ 5 ประเมินตนประเมินงานอย่างเปิดใจ 4) การประเมินผลการนิเทศ และ 5) เครื่องมือการนิเทศ
1.2 รูปแบบการนิเทศมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) เท่ากับ 3.07 มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
- ผลการใช้รูปแบบการนิเทศของครูคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
2.1 ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 หลังประชุมปฏิบัติการสูงกว่าก่อนประชุมปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ได้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของแผน สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มีรายละเอียดของข้อคำถามชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอน ครบทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2.3 พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้หลังได้รับการนิเทศมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรแกนนำโดยใช้การสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching และ Mentoring): สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การชี้แนะทางปัญญาเพื่อการพัฒนาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 7 (2), 28.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธารทิพย์ นรังศิยา. (2559). การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 11 (2), 235.
ปารณีย์ ขาวเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยวิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงของครูพี่เลี้ยงนักศึกษาประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระธรรมปิฎก. (2544). พุทธวิธีในการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน.
ภัณฑิรา สุปการ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การ (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท ตถาตา.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2558). รายงานผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (2559). รายงานการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). รายงานการศึกษาระบบการนิเทศ ปัญหา ความต้องการ และรูปแบบการนิเทศที่เอื้อต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุภาภรณ์ ใจสุข. (2559). รายงานผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการนิเทศการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2546). แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม “ในวิธีการเรียนรู้ของคนไทย: ประมวลสาระจากการประชุมและรวมข้อเขียนจากนักคิด”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Arends, R. I. (1994). Learning to tech (3th ed.). New York: McGraw–Hill.
Brown, W. B. & Moberg D, J. (1980). Organization theory and management: A Macro approach. New York: John Wiley and Sons.
Dillenbourg, P. (1999). Collaborative learning cognitive and computational approaches (2nd ed.). Pergamon: Elsevier Science.
Joyce, B. & Showers, B. (1996, March). The evaluation of peer coaching. Education Leadership Improving Professional Practice, 53 (6), 12-16.
Knight, J. (2004, November). Instructional coaches make progress through partnership: intensive support can improve teaching. Journal of Staff Development: Spring, 25 (2), 32-37.
Lasley, T., Matczynski, T. & Roley, J. (2002). Strategies for teaching in a diverse society: Instructional model (2nd ed.). Belmont, Califonia: Wadsworth.
Marshall, J. C., Horton, B. & Smart, J. (2009). 4E×2 instructional model: Uniting three learning constructs to improve praxis in science and mathematics classrooms. Journal of Science Teacher Education, 20 (6), 501-516.
Swan, M. (2006). Collaborative learning in Mathematics: A challenges to our beliefs and practices. London: National Institute for Advanced and Continuing Education (NIACE); National Research and Development Centre for Adult Literacy and Numeracy (NRDC).