การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และลงทะเบียนเรียนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเรียนที่ 1 จำนวน 27 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ 84.52/86.04 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.38) โดยเฉพาะในแง่ความสะดวกในการทบทวนเนื้อหาการเรียนรู้ (
= 4.81) ความรวดเร็วในการตอบสนอง (
= 4.74) และความง่ายของการเข้าใจเนื้อหาการเรียนรู้ (
= 4.62) ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2553). โครงการวิจัยรูปแบบเว็บไซต์และรูปแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
เจษฎา บุญมาโฮม, มารุต คล่องแคล่ว, จีรารัตน์ ชิรเวทย์, วรรณีย์ เล็กมณี และดรุณี โกเมนเอก. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่อง ทฤษฎีการเรียนรู้รายวิชาจิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อการออกแบบสื่อ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10 (2), 34-47.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2554). เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
พิพัฒน์ศักดิ์ ไชยวงษ์. (2562, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง (e-learning) รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2 (4), 120-131.
ภคมน ตะอูบ. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 1 (2), 62-71.
ภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์ และนรีรัตน์ สร้อยศรี. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบผสมผสาน วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์แบบอีเอ็นจี สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6 (11), 1-8.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2547). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์.
รฐา แก่นสูงเนิน และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2559, มกราคม-เมษายน). พัฒนาการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จังหวัดสมุทรสาคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9 (1), 702-716.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). หลักการออกแบบการสอนบนเว็บตามแบบจำลอง ADDIE เพื่อการสอนสนทนาภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6 (10), 192-205.
วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2556). E-learning: การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ จุดเริ่มต้นสู่อนาคตการศึกษาไทย (ตอนที่ 1). ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562, จาก http://www.ksp.or.th/ksp2019/blog/post.php?mid=50016&cid=5&did=108
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). การศึกษารูปแบบของอีเลิร์นนิงที่เหมาะสมกับการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กราฟิกโกร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุมาพร นาคะวัจนะ, ไพโรจน์ เบาใจ และสุนทร โคตรบรรเทา. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงสำหรับการฝึกอบรมแบบร่วมมือ เรื่อง การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10 (2), 105-119.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive domain. New York: David Mackey.
Commission on Higher Education. (2009). Board of education's guidelines for higher education qualifications framework act B.E. 2552. Bangkok: Commission on Higher Education.
UNESCO. (2020). Education: From disruption to recover. Retrieved 26 May 2020, from https://en.unesco.org/covid19/educationresponse