การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดเรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลกรับใหญ่

Main Article Content

นพดล ผู้มีจรรยา NOPPADON PHUMEECHANYA
พรนภา อินทำ PORNAPAR INTHAM

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลกรับใหญ่ จังหวัดราชบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มจากทั้งหมด 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด บทเรียนเอ็มเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


          ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียน 3 หน่วยการเรียน ซึ่งมีคุณภาพของบทเรียนอยู่ในระดับดีมาก 2) บทเรียนเอ็มเลิร์นนิงมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.70/83.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ วงษ์ศรีเผือก และจิรฐา รัชนกูล. (2562, กรกฎาคม). การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนเรื่อง การตรวจ วินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19 (2), 84-85.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก https://bit.ly/2Vv59D1
พูลศรี เวศย์อุฬาร. (2551). Mobile Learning (mLearning) เอ็มเลิร์นนิง-การเรียนทางเครือข่ายไร้สาย. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก https://bit.ly/3b7SLze
มนตรี เฉกเพลงพิน. (2562, กันยายน). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น ฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4 (3), 392-393.
มนชนก ยะโส, ประกอบ ใจมั่น และกรวรรณ สืบสม. (2561, มกราคม). การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10 (1), 108-109.
วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ชเนตตี พิมพ์สวรรค์ และจรัญ เจิมแหล่. (2559, กรกฎาคม). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยเอ็มเลิร์นนิง วิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ด้วยโปรแกรมประยุกต์ลักษณะฟอร์ม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3 (2), 19-20.
ศิริรัตน์ วงศ์ศิริ และรักซ้อน รัตน์วิจิตรร์เวช. (2555). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.
สุกัญญา คำวัน. (2558). วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก https://is.gd/Jt5kVs
อดุลย์ ไทรเล็กทิม. (2554). การจัดการเรียนการสอน แบบเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share). ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2563, จาก https://is.gd/MSIXXh
อุมาพร แก้วทา. (2558, กรกฎาคม). การพัฒนาบทเรียนผ่านสมาร์ตโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3 (2), 76-79.