การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบพิกเจอร์เวิร์ดร่วมกับบัตรคำศัพท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบพิกเจอร์เวิร์ด (PWIM) ร่วมกับบัตรคำศัพท์ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบ่อคู่ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี จำนวน 18 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดเรียนรู้ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์ 2) แบบทดสอบความสามารถการอ่านสะกดคำ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ PWIM ร่วมกับบัตรคำศัพท์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 2.85, S.D. = 0.27)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กนกพร จันทะกล. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการอ่านและการเขียนจากภาพ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานผลประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 1 แบบรายงานผลการประเมินของประเทศ. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2566, จาก http://180.180.244.42/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExam Web%2f
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานผลประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 1 แบบรายงานผลการประเมินของประเทศ. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2566, จาก http://180.180.244.42/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2f ExamWeb%2f
กลุ่มโรงเรียนท่าหลวงสัมพันธ์. (2565). รายงานการประชุมครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). ลพบุรี: โรงเรียนอนุบาลท่าหลวง.
ขวัญนภา บุญนิธี. (2564). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านสะกดคำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยรายบุคคล. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ครูแหม่ม. (2562). Flash Cards (บัตรคำ) สื่อการสอน ส่งเสริมทักษะการจดจำ. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2566, จาก https://www.youngciety.com/article/learning/flash-cardsforkids.htm l?fbclid=IwAR 2O1zc4UVLvLI0QD7DTHvUsj1yE3Q13ST0CUMEQn1T5UHiMzqfNI7VRCE0
ณริณฐ์พัชร คงแสงจันทร์. (2566). การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบ Picture Word Inductive Model (PWIM) กับวิธีการสอนปกติ. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5 (2), 111-122.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิตา วัชรพิชิตชัย. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคำศัพท์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
บรรจง ขำจันทร์. (2560). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและแบบใช้บัตรคำศัพท์. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5 (3) 141-156.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
แปลน ฟอร์ คิดส์. (2564). บัตรภาพของเล่นที่เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2566, จาก https://www.planforkids.com/kids_corner/flash-card?fbclid=IwARJTOVa am ACQy-9I9BVMD9-LmYTp tFlcWqu_u4iniYIqxkzB6s2QEbQ
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนบ้านบ่อคู่. (2565). ผลการคัดกรองการอ่านการเขียน ปีการศึกษา 2565. ลพบุรี: โรงเรียนบ้านบ่อคู่.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สง่า วงค์ไชย. (2562). Picture Word Inductive Model: รูปแบบการสอนอ่านและเขียนสำหรับเด็ก. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12 (2), 1113-1128.
สถาบันภาษาไทย. (2565). คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2564). รายงานผลประเมินความสามารถในการอ่าน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564. ลพบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2.
สุพัตรา ศรีธรรมา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อมรรัตน์ วารินกุฎ. (2551). ความสามารถทางการอ่านของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้โดยการสอนด้วยบัตรคำกับการสอนด้วยบัตรคำประกอบภาพ. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และวิไล พิพัฒน์มงคลพร. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบพิคเจอร์เวิร์ด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13 (1), 17-22.