การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
- ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมายอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กิตติพงษ์ แบสิ่ว. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตตินันท์ สุวรรณภาพ. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านแบบพาโนรามา (PANORAMA) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2554). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุณณ์ภัสสร เบญจณัฏฐากุญช์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนสรุปความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PANORAMA กับแบบ KWL. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยตา พงศ์สุชาติ. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ PANORAMA ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พรทิพย์ ตันติเวสส. (2540). ผลของ semantic mapping ต่อความเข้าใจ expository text ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รติพงษ์ รักษาพันธุ์. (2555). ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมแบบพาโนรามา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอบวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.).
สุภรัตน์ สท้านพล. (2554). การใช้แผนภูมิความหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Adler, M. J. & Doren, C. V. (1972). How to read a book. New York: Simon and Schuster.
Likert, R. A. (1932). Technique for the measurement of attitudes. Arch Psychological, 25 (140), 1-55.
Sinatra, R. C., Stahl-Gemake, J. & Berg, D. B. (1984). Improving reading comprehension of disabled reader through semantic mapping. The Reading Teacher, 38 (1), 22-29.
Sinatra, R. C., Stahl-Gemake, J. & Mogan, N. W. (1986). Using semantic mapping after reading to organize and write original discourse. Journal of Reading, 30 (1), 4-13.
Edwards, P. (1973, November). PANORAMA: A study technique. Journal of Reading, 17 (2), 132-135.
Schmidt, M. B. (1986, October). The shape of content: Four semantic map structures for expository paragraphs. The Reading Teacher, 40 (1), 113-117.
Carrell, P. L., Pharis, B. G. & Liberto, J. C. (1989, December). Metacognitive strategy training for ESL reading. TESOL Quarterly, 23 (4), 647-678.
Resniaty, S. (2017, August). The effect of semantic mapping strategy on students’ reading comprehension at the ninth-grade students of SMP Raksana Medan. Kairos ELT Journal, 1 (2), 49-70.