ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร 2) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยการเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประชากร คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2562 จำนวน 6,321 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 421 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค
ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ร้อยละ 48.93 นิสิตที่ไม่เลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ร้อยละ 51.07 2) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยการเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรของนิสิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่อยู่ในระดับมากมี 2 ด้าน คือ โอกาสความเจริญก้าวหน้า และโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง และปัจจัยที่อยู่ในระดับปานกลางมี 4 ด้าน คือ ความมั่นคง ลักษณะงานหรืออาชีพ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ชื่อเสียงองค์กร ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร คือ โอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองและลักษณะงานหรืออาชีพ มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยโลจิสติคเท่ากับ 1.565 และ 0.990 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความน่าจะเป็นของการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรจากค่าอัตราส่วนออด พบว่า โอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองเมื่อเพิ่มขึ้น 1 หน่วย โอกาสที่นิสิตตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 4.784 หน่วย ในขณะที่ลักษณะงานหรืออาชีพโอกาสการตัดสินใจเพิ่มขึ้นเป็น 2.692 หน่วย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กองบริหารวิชาการและนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2562). จำนวนนิสิตปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จากhttps://regis.ku.ac.th/cpcmns/rpt_std_
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). รายงานประจำปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณรงค์ จองใจอนุรักษ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของคนหางานที่ใช้บริการสำนักงานจัดหางานของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงพร โพธิ์สร. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา. การบริหารรัฐกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยบูรพา, 4 (1), 110-146.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). ภาวะเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Report/pages/default.aspx
นพอนันท์ เพียรมั่นคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกอาชีพของนักศึกษา สาขาการจัดการบิน สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 7, 24-38
พัชรินทร์ ชุติพงศ์รุ่งโรจน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเข้าทำงานกับสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีและการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพศาล ไกรสิทธิ์. (2559). ความสำคัญของการทำงาน. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2562, จากhttp://paisarnkr.blogspot.com/2016/03/blog-post.html
รวิพัชร์ งามพัทธวิชย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้สอบบัญชีกับบริษัทตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีและการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนรรห์ ณ นคร. (2554). ปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจของพนักงานตรวจสอบบัญชี กรณีศึกษาบริษัท ตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีและการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลัทธพรรณ กสินธุ์มานะวาท. (2557). โฆษณาองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานในองค์กรในกลุ่มผู้กำลังสำเร็จการศึกษา กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง. การค้นคว้าอิสระการบัญชีและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ ไตรสรลักษณ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของบัณฑิต กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก www.nesdb.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การเลือกอาชีพของวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก http://guidance.obec.go.th/?p=1051
สุภาวดี ใจบุญ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานภาครัฐบาลหรือภาคเอกชนเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัจฉริยา ปทุมวัน. (2552). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกงานและการพัฒนาตนเองในการทำงานของวัยทำงานตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Ferguson, G. A. (1981). Statistical analysis in psychology and education (5th ed.). Tokyam: Mc Graw-Hill Book.
Ginzberg, E. (1974). Counseling for career development. Boston: Houghton Mifflin.
Hall, D. T. (2001). Career in and out of organizations. Thousand Oaks: Sage.
Herzberg, F. et al. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Hoppock, R. (1975). Reminisce and comments on job satisfaction. The Vocational Guidance Quarterly, 24, 107-114.
Likert, R. A. (1932). Technique for the measurement of attitudes. Arch Psychological, 25 (140), 1-55.
London, M. & Stumpf, S. A. (1982). Managing career. Massachusetts: Addison-Wesley.
Schaffer, R. H. (1953). Job satisfaction as related to need satisfaction in work. Psychological Monographs: General and Applied, 67 (14), 1-29.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.