ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตระดับปริญญาตรี 2) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตระดับปริญญาตรี และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 446 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตอยู่ในระดับดี 2) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปัจจัยที่อยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับ ได้แก่ ความต้องการและแรงจูงใจในการบริโภคอาหารปลอดภัย ความตระหนักในการบริโภคอาหารปลอดภัย ทัศนคติการบริโภคอาหารปลอดภัย และค่านิยมและวิถีชีวิตการบริโภคอาหารปลอดภัย และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยประกอบด้วย ทัศนคติการบริโภคอาหารปลอดภัย (X2) ความตระหนักในการบริโภคอาหารปลอดภัย (X5) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องอาหารปลอดภัย (X1) และความต้องการและแรงจูงใจในการบริโภคอาหารปลอดภัย (X4) สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (Y) ได้ร้อยละ 53.3 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้
= 1.213 + 0.516X2 + 0.301X5 - 0.077X1 - 0.080X4
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร กองสุขาภิบาล สำนักอนามัย. (2559). คู่มืออาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ. กรุงเทพฯ: พีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กิติพงษ์ ขัติยะ. (2551). การรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). You are …what you eat กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น (นะ). ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.chiangmainews.co.th
คมสัน วัฒนทัพ. (2549). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของประชาชนในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์ และคณะ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9 (2), 41-53.
ปนันดา จันทร์สุกรี และวศิน แก้วชาญค้า. (2561). รายงานวิจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. (2560). พฤติกรรมการบริโคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 8 (1), 122-128.
ปิยวรรณ นาทุ่งนุ้ย. (2560). กินอย่างไร เลี่ยง NCDs. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (2563). ประกาศ มาตรการ แนวปฏิบัติ ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://kps.ku.ac.th/v8/index.php/th/covid-19
มัญชุสา ธนิกกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนเทพสุวรรณชาฐวิทยา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มานิต ตันเจริญ. (2558). พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชน: ศึกษากรณีตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
มูลนิธินวชีวัน. (2564). ตรารับรองมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ที่ควรรู้จัก. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.nawachione.org
ยศ อัมพรรัตน์. (2536). ผลของการฝึกการอดได้รอได้และการให้แรงเสริมทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งฟ้า โต๊ะถม. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกรั้วโรงเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8 (3), 781-792.
วารุณี จีนศร. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิชัย เทียนถาวร. (2561). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://webcache.googleusercontent.com
วิภาวี ปั้นนพศรี. (2550). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของประชากรในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วิรยา บุญรินทร์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) และคณะ. (2561). สุขภาพคนไทย 2561: ตายดี วิถีที่เลือกได้. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2560). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับใหม่มุ่งไทยมั่นคงทางอาหารและโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลก. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.fda.moph.go.th/
สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (2563). จำนวนนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ปีการศึกษา 2563. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวรรณา เชียงขุนทด และคณะ. (2556). รายงานวิจัยเรื่อง ความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
อนวัช ประทีปอนันต์. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของประชาชน กรณีศึกษาจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
อัจจนา เลิศภูวิวัฒน์. (2549). พฤติกรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของนิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Maslow, A. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50 (4), 370-396.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.