รูปแบบการออมของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ
คำสำคัญ:
รูปแบบการออม, การออม, เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย, วัยสูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการออม และปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ที่มีอายุ 18 -55 ปี จำนวน 1,100 คน ที่สุ่มแบบหลายขั้นตอนจากเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยใน 5 อำเภอ ของจังหวัดนครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบจําลองสมการถดถอยโลจิสติกแบบทวิภาค (Binary Logistic Regression) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า รูปแบบการออมส่วนใหญ่ ออมกับสถาบันการเงิน รองลงมา ออมผ่านกลุ่มออมในชุมชน โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางบวก ได้แก่ สถานภาพสมรส สถานภาพหย่า/หม้าย การศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกครัวเรือน 6 คนขึ้นไป รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 15,000 บาท – 20,000 บาท รายได้จากภาคการเกษตร ภาระหนี้สิน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารกองทุนออมแห่งชาติ การเข้าถึงระบบการออม และ การมีภูมิคุ้มกัน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อการออม คือ อายุ 41 - 55 ปี จำนวนสมาชิกที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง 3-4 คน และ การถือครองทรัพย์สิน ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความรู้การวางแผนการเงิน การออม การจัดทำบัญชีครัวเรือน ตามช่วงอายุ และระดับการศึกษา และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยออมผ่านกลุ่มออมในชุมชน และกองทุนออมแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน รายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows. พิมพ์ครั้งที่ 5. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมพัฒนาชุมชน. (2552). แนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2564, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER028/GENERAL/DATA0000/00000046.PDF
ไกรวิชญ์ ประชุมพันธ์ ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ และ สุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้บริโภคเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิต วิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 313-330.
ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จีรวรรณ เกตุปาน และ ปัญชิกา ภูริศักดิ์ไพโรจน์. (2559). การออมของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณิชพัณณ์ พีรอนันต์พร. (2562). รูปแบบการออมเพื่อเกษียณอายุของกลุ่มอาชีพหาบเร่แผงลอยขายอาหารริมทาง Street Food ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณิชากร ชัยศิริ เจษฎา นกน้อย และวาสนา สุวรรณวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในจังหวัดสงขลา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(3),129-136.
ณัฐริภัสร์ สรุเชษฐคมสัน นวพร วิริยานุพงศ์ สรณัฐ ลือโสภณ สุภาวณี ผลวัฒนะ ชัยรัฐ ชยันต์วรรธน์ และ สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล. (2558). การศึกษาวิจัยแนวทางนโยบายการพัฒนาการสร้างสินทรัพย์ เพื่อการออมสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง.
บุณยาพร ภู่ทอง. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมของชุมชน : กรณีศึกษา ท่าน้ำสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 11(1), 5-14.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
ปิติพันธุ์ อ่อนจันทร์ และ พิทักษ์ ศรีสุกใส. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมในกองทุนการออมแห่งชาติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ ในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, 12(1), 99 – 11.
มงคลชัย จำรูญ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมในกองทุนการออมแห่งชาติของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 8(2), 312-321.
รัขนีกร วงศ์จันทร์. (2555). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โสภาค เจริญสุข. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 11(1), 92-101.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร. ค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.oae.go.th/view/1 /TH-TH#
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561). รายงานการประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2563). ข้อมูลประชากรกลางปี 2563. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563, จาก http://203.157.176.8/giscenter/giscenter/pop.php
สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2562). บรรยายสรุปจังหวัดนครพนม. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2562, จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/files/com_news_devpro1/2019-09_447c25cc656e90e.pdf
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2551). เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(3),1-6.
สรา ชื่นโชคสันต์ สุพริศร์ สุวรรณิก และ ธนัชพร สุขสุเมฆ. (2562). หนี้สินครัวเรอนไทย: ข้อเท็จริงที่ได้จาก BOT-Nielsen Household Financial Survey. กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย.
สุภมาส อังศุโชติ และกาญจนี กังวานพรศิริ. (2558). อิทธิพลของลักษณะชุมชนต่อโมเดลการส่งเสริมการออมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรีตามปรัชญาเศรษกิจพอเพียง: โมเดลสมการโครงการสร้างกลุ่มพหุ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(2). 1-16.
สุจิตรา สามัคคีธรรม. (2560). พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหาบเร่แผงลอย: กรณี ศึกษาเขตบางเขน: วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 157-176.
อธิพันธ์ วรรณสุริยะ และ สุวิมล เฮงพัฒนา. (2562). ความสามารถในการออมของครัวเรือนไทยเปรียบเทียบระหว่างแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 1-17.
Abebe, A. (2017). Factors Affecting Rural Household Saving (In Case of Wolayita Zone of a Woreda). Journal of Poverty, Investment and Development, 36(1), (40-45).
Burns, N., & Grove, S. K. (1993). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. Philadelphia : W.B.Saunders Company.
Keynes, J. M. (1936). The general Theory of Employment, Interest and Money. New York : Harcourt Brace Jovanovich.
Lidi, B. J., Bedemo, A., & Belina, M. (2017). Determinants of Saving Behavior of Farm Households in Rural Ethiopia. The Double Hurdle Approach Developing Country Studies, 7(12) 17-26.
Stuart, R., & Arora, S. (2020). การเงินคนจน การเงินฐานรากจากมุมมองของลูกค้าในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด. (สฤณี อาขวานันทกุล, ผู้แปล).กรุงเทพฯ: ซอลท์ พับลิช. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2000).
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rded.). New York : Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบัญชีและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว