Publication Ethics

จริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จริยธรรมของผู้นิพนธ์บทความ

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเป็นบทความของผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบในการส่งบทความจากผู้ร่วมนิพนธ์ (ถ้ามี)
  2. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเป็นบทความที่เขียนขึ้นใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  3. หากผู้นิพนธ์มีการนำข้อความในบทความผู้อื่นมาเป็นส่วนหนึ่งของบทความตนเองผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงบทความของผู้อื่นทั้งในเนื้อหาผลงาน (in-text) และท้ายผลงานในรูปแบบรายการอ้างอิง (Reference)
  4. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และสาระในบทความอย่างถูกต้อง ชัดเจน ซื่อสัตย์ โดยไม่มีการดัดแปลงข้อมูล และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว
  5. ผู้นิพนธ์จะต้องเปิดเผยแหล่งทุนที่สนับสนุนการเขียนบทความ (ถ้ามี)
  6. กรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้นิพนธ์จะต้องระบุไว้ในบทความให้ชัดเจน
  7. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของบทความในทุกกรณี

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต่อบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความนั้น
  2. ผู้ประเมินผลงานจะต้องไม่รับประเมิน หรือพิจารณาผลงานของตัวเอง หรือบทความที่ตัวเองมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น รู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเป็นผู้นิพนธ์ในผลงานนั้นเอง เป็นต้น
  3. ผู้ประเมินผลงาน ควรประเมินผลงานด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตามหลักวิชาการในศาสตร์ของตน และควรประเมินผลงานด้วยความยุติธรรม ไม่มีอคติ และไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว
  4. ผู้ประเมินผลงาน ควรส่งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่วารสารกำหนด
  5. ผู้ประเมินผลงานควรระบุงานผลงานที่เกี่ยวข้องซึ่งยังไม่ได้อ้างถึงโดยผู้นิพนธ์ผลงาน และควร        แจ้งให้บรรณาธิการทราบถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกัน หรือทับซ้อนของผลงานในขณะที่ผู้ประเมินกำลังพิจารณากับผลงานอื่น ๆ

จริยธรรมของบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณา และตรวจสอบคุณภาพของผลงานเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร การบัญชีและการจัดการ
  2. บรรณาธิการจะรักษาข้อมูลของผู้นิพนธ์ ผู้นิพนธ์ร่วม และผู้ประเมินผลงานเป็นความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินผลงาน
  3. บรรณาธิการจะต้องคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานและความสอดคล้องกับนโยบายของวารสารและเป็นไปตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนดไว้
  4. บรรณาธิการจะต้องตัดสินใจคัดเลือกผลงานหลังจากผ่านกระบวนการประเมินผลงานแล้ว
  5. บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในผลงาน ทั้งกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง