ผลกระทบของการวางแผนงานสอบบัญชีที่มีคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การวางแผนงานสอบบัญชี, คุณภาพการสอบบัญชี, ผู้สอบบัญชีภาษีอากรบทคัดย่อ
รายงานการสอบบัญชีที่มีคุณภาพ ผู้สอบบัญชีจะต้องมีการวางแผนการสอบบัญชีและปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ สามารถตรวจสอบและวัดมูลค่ารายการทางบัญชีได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และข้อมูลในงบการเงินปราศจากข้อผิดพลาดที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การทำวิจัยในครั้งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของการวางแผนงานสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีภาษีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 145 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยการส่งทางไปรษณีย์ อีเมล์ กรุ๊ปไลน์ และโทรศัพท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหูคุณและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การวางแผนงานสอบบัญชี ด้านการพิจารณารับงานสอบบัญชี ด้านการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ด้านการวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น ด้านการกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ ด้านการประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง ด้านการทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม และด้านการพัฒนาแผนการสอบบัญชีและแนวการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชีโดยรวม ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการวางแผนการสอบบัญชีให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีนำไปสู่การปฏิบัติงานการสอบบัญชีที่ดี และสร้างข้อได้เปรียบในวิชาชีพสอบบัญชี งานวิจัยในครั้งนี้อาจจะมีประเด็นวิธีเก็บข้อมูลเป็นข้อจำกัดในการวิจัย
References
กรมสรรพากร. (2564). รายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จากhttps://www.rd.go.th/7243.html.
กะลินทิพย์ ฮกฮื้น. (2560). ผลกระทบของความคิดสร้างสรรค์ในการสอบบัญชีและความพยายามในการวางแผนการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร. วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฏฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ทัศนีย์ แสงสว่าง. (2555). แนวทางการประเมินความเสี่ยงการสอบบัญชีของผุ้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทิพวรรณ์ ศิริมาตร. (2555). ผลกระทบของคุณลักษณะหลักฐานการสอบบัญชีที่ดีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นนทวรรณ ยมจินดา และคณะ. (2562). ความเสี่ยงในการสอบบัญชีกับระยะเวลาการออกรายงานผู้สอบบัญชี : กรณีรายงานการสอบบัญชีที่มีการระบุถึงเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(48), 73 – 88.
นันทวรรณ วงค์ไชย. (2553). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 3(4), 38 – 51.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ : เอเอ็นเอส บี ซีเนส คอนซัลแทนส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุหลัน ศรีมูล. (2556). ผลกระทบของมาตรฐานการปฏิบัติงานการสอบบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรารถนา หวานเหย และคณะ. (2558). ผลกระทบของการวางแผนการปฏิบัติงานทางการบัญชีที่ดีต่อคุณภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพ์รวี ยามะเทวัน และคณะ. (2558). ผลกระทบของกระบวนการสอบบัญชีที่ดีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มงคลรัตน์ สายเย็น. (2556). ผลกระทบของการวางแผนการสอบบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 5(3), 36 – 47.
ศรัญญา บุญขวัญ. (2560). ผลกระทบของความพยายามในการสอบบัญชีและความเชี่ยวชาญในการสอบบัญชีที่มีผลต่อผลลัพธ์ในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). สถานการณ์ COVID-19 และการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/128513.
สมเดช โรจน์คุรีเสถียร และคณะ. (2564). คู่มือสอบ TAX AUDITOR TUTOR (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : ธรรมนิติเพรส.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research (7th ed.). New York : John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making (4th ed.). New York : John Wiley and Sons.
Hair, J. F., Black, W. C., & Anderson, R. E. (2006). Multivariate data Analysis (6th Ed.). New Jersey : Pearson Education International.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบัญชีและการจัดการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว