วัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงาน ของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ สืบตระกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • นัทธ์หทัย อือนอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • นฤมล สุ่นสวัสดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ฉัตรธาร ลิ้มอุปถัมภ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, ภาวะผู้นำ, ประสิทธิผลการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (2) ศึกษาภาวะผู้นำของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (3) ศึกษาประสิทธิผลการทำงานของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ (4) ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงานของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลทดสอบค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมานโดยวิธีการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling : SEM) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001

                   ผลการศึกษา พบว่า (1) วัฒนธรรมองค์กรภาพรวม พนักงานของบริษัทฯ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นลำดับแรก คือ ด้านวัฒนธรรมเน้นที่งาน รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาท และลำดับสุดท้าย คือ ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคล ตามลำดับ (2) ภาวะผู้นำองค์การภาพรวม พนักงานของบริษัทฯ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นลำดับแรก คือ ด้านพฤติกรรมมุ่งงาน รองลงมา คือ ด้านพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์หรือมุ่งคน และลำดับสุดท้าย คือ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (3) ประสิทธิผลการทำงานของบริษัทฯ ภาพรวม พนักงานของบริษัทฯ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นลำดับแรก คือ ด้านประสิทธิภาพ รองลงมา คือ ด้านการปรับเปลี่ยน และลำดับสุดท้าย คือ ด้านความพึงพอใจ ตามลำดับ และ (4) วัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการทำงานของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่า Chi-square = 44.286, Degrees of Freedom = 41, P = 0.335, CMIN/DF = 1.080, GFI = 0.975, AGFI = 0.960, NFI = 0.981, TLI = 0.998, CFI = 0.999, PCLOSE = 0.984, RMSEA = 0.016 ดังนั้น ภาวะผู้นำ (0.90) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงานมากกว่าวัฒนธรรมองค์กร (0.89)

References

เกตุศิรินทร์ เพ็ชรบูรณ์. (2557). การศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษาเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิราภรณ์ ขุนรัง. (2559). การศึกษาปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐรัตน์ สุขใย. (2562). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การยอมรับเทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิธิพร ลิ่มประเสริฐ. (2559). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยด้านกระบวนการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. (2564). ข้อมูลจำนวนพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท เอ็ม เอ็ม พีอินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด. วันที่ 1 มีนาคม 2564. ฝ่ายบุคคล บริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

ภัทรธิรา ผลงาม (2559). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

มนตรี ประชากรธัญญกิจ. (2559). การติดต่อสื่อสารองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และภาวะผู้นําที่มีผลต่อประสิทธิผลการทํางานเป็นทีมของบริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จํากัด. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Gibson, J. H., John, M. I., & James H.D. (1982). Organizations: Behavior structure and Processes. (4th ed.), Austin, TX : Business Publications.

Handy, C. (1995). Gods of Management: The changing work of organizations. Oxford : Oxford University.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York : McGraw-Hill.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/14/2023

How to Cite

สืบตระกูล น., อือนอก น. ., สุ่นสวัสดิ์ น. ., & ลิ้มอุปถัมภ์ ฉ. . (2023). วัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการทำงาน ของบริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 15(1), 102–115. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/252433