แบบจำลองสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัชชากมล ใสสุข คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรรถพงศ์ พีระเชื้อ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แบบจำลองการเตือนภัย, สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจล่วงหน้า, ธุรกิจประกันวินาศภัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลทางการบัญชีสร้างแบบจำลองสัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจล่วงหน้าสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 9 อัตราส่วน ในระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้แก่ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (TCATTCR), อัตราส่วนสภาพคล่อง (LR), อัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อหนี้สินผู้เอาประกันภัย (IATIL), อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงเงินกองทุน (CITCA), อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE), อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจประกันภัยต่อเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ (OETNEP), อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA), อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงสำรองสินไหมทดแทน (CICL) และอัตราส่วนค่าสินไหมทดแทนต่อเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ (GCTNEP) ตัวแปรตาม คือ สถานะของบริษัทประกันวินาศภัย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนรวม 32 บริษัท ประกอบด้วย กลุ่มบริษัทที่ประสบปัญหาในการดำเนินกิจการ จำนวน 16 บริษัท จับคู่กับกลุ่มบริษัทที่ไม่ประสบปัญหาในการดำเนินกิจการ อีก 16 บริษัท และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติการวิเคราะห์จำแนกประเภทเพื่อสร้างแบบจำลองการพยากรณ์ จากนั้น นำข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทประกันวินาศภัยทุกบริษัทที่อยู่ในประเทศไทย มาทดสอบความสามารถในการพยากรณ์ของแบบจำลอง ผลจากวิจัยพบว่า แบบจำลองสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ประกอบด้วยตัวแปรอิสระจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (TCATTCR) อัตราส่วนสภาพคล่อง (LR) และอัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) โดยแบบจำลองมีความสามารถในการพยากรณ์ก่อนการเกิดเหตุการณ์ล่วงหน้า 1 ปี ได้ถูกต้องร้อยละ 81.33 พยากรณ์ก่อนการเกิดเหตุการณ์ล่วงหน้า 2 ปี ได้ถูกต้องร้อยละ 77.54 และพยากรณ์ก่อนการเกิดเหตุการณ์ล่วงหน้า 3 ปี ได้ถูกต้องร้อยละ 76.36

References

กองทุนประกันวินาศภัย. (2562). แผนปฏิบัติการกองทุนประกันวินาศภัย. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www. gif.or.th.

กี่เดช อนันต์ศิริประภา. (2561, 11 กันยายน). ประกันวินาศภัยฟันธงเบี้ยโต 5% อานิสงส์ยอดขายรถยนต์ ทะลุเป้า 9 แสนคัน. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ประชาชาติธุรกิจ. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.prachachat.net.

ณัฐกิตติ์ ลีลากวีพัฒน์. (2558). ภัยธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์.

ดวงพร หัชชะวณิช. (2551). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำนายการเป็นสมาชิกกลุ่มโดยใช้วิธี OLS Regression วิธี Logistic Regression และ วิธี Discriminant Analysis ในกรณีที่ตัวแปรตอบสนองมี 2 ค่า. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 28(1), 149-167

เดือนเพ็ญ สนโต. (2545). การเปรียบเทียบความสามารถในการจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องระหว่างวิธีการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มกับวิธีการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก เมื่อใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2542). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ : แผนกการพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประจักษ์ อุดมศิลป์. (2530). โมเดล Bankruptcy ล่าสุด ความไม่มั่นคงของธนาคารพาณิชย์ : ศึกษากรณีธนาคารเอเชียทรัสต์ มหานคร และนครหลวงไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 11(42), 43-54

พจนารถ ฤทธิเดช ปาริชาติ บูรพาศิริวัฒน์ และมัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2564). อิทธิพลของผลตอบแทนผู้บริหารต่อผลการดำเนินกิจการทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 60-74

ไพรินทร์ ชลไพศาล. (2557). สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจกรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รัตนสุดา ชลธาตุ. (2558). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางการแก้ไขปัญหา Climate Change and Potential Solutions. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(18), 416-417.

วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยแบบจำลองการพยากรณ์ภาวะความล้มเหลวของธุรกิจ. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(2), 1-24.

สมาคมประกันวินาศภัยไทย. (2558). บริหารความเสี่ยง บรรเทาความเสี่ยงได้ด้วยประกันภัย. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.tgia.org.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 570 (ปรับปรุง) เรื่องการดำเนินกิจการต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิทธิโชค ศรีเจริญ. (2561). หลักกฎหมายประกันภัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สุชาดา สถาวรวงศ์ และอธิวัฒน์ ศุภสวัสสดิ์วัชร. (2560). การวิเคราะห์ฐานะการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

สุทธิพล ทวีชัยการ. (2561, 22 ธันวาคม). คปภ.ผนึกภาคธุรกิจประกันภัยร่วมถอดบทเรียน 10 ปี ปิด 11 ประกัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันกำกับธุรกิจอนาคต. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. สยามรัฐ. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://siamrath.co.th.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2557). ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http:// www.oic.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2561). สำหรับผู้บริโภค. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http:// www.oic.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). (2561). ระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS). ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จาก http:// www.oic.or.th.

อรรถพงศ์ พีระเชื้อ. (2561). ตัวแบบพยากรณ์บริษัทจดทะเบียนที่อาจถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการ, 7(2), 8-22.

อาฟีฟี ลาเต๊ะ ประสพชัย พสุนนท์ สุดา ตระการเถลิงศักดิ์ และปราณี นิลกรณ์. (2551). การเปรียบเทียบวิธีการทางสถิติและวิธีการโปรแกรมเชิงเส้นสำหรับพยากรณ์บริษัทธุรกิจของประเทศไทยที่จะประสบปัญหาทางการเงิน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 28(1), 19-32.

อุษณีย์ ลิ่วรัตน์. (2561). วิเคราะห์หุ้นราย Sector หุ้นกลุ่มประกันภัย. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Adamowicz, K., & Noga, T. (2018). Identification of financial ratios applicable in the construction of a prediction model for bankruptcy of wood industry enterprises. Folia Forestalia Polonica Series A – Forestry 2018, 60, 61–72.

Altman, E. (1968). Financial ratio discriminant analysis and the prediction of corporate bankruptcy. The Journal of Financial, 23(4), (September), 589-609.

Beaver, W. (1966). Financial ratios as predictors of failure. Journal of Accounting Research, 4 (Supplement), 71-111.

Deakin, E. B. (1972). A Discriminant analysis of predictors of business failure. Journal of Accounting Research, 10(1), 167-179.

Dietrich, J., Arcelus, F., & Srinivasan, G. (2005). Predicting financial failure: Some evidence from New Brunswick agricultural CO-Ops. Annals of Public and Cooperative Economics, 76(2), 179-194.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey, United States of America : Pearson Education.

Jaikengkit, A. (2004). Corporate governance and financial distress: Empirical analysis - the case of Thai financial institutions. Doctoral Dissertation, Case Western Reserve University.

Khunthong, J. (1998). Red flags on financial failures : The cases of Thai corporation. Doctoral Dissertation in Accounting, The National Institute of Development Administration.

Kingkaew, P., & Limpaphayom, P. (2001). A note on the use of publicly-available financial data to predict bankruptcy of non-listed firms in Thailand. Journal of Accountant, 47(3), 19-27.

Libby, R. (1975). Accounting ratios and the prediction of failure : Some behavioral evidence. Journal of Accounting Research, 13(1), 150-161.

Mainkamnurd, S. (2000). Management and financial distress : The case of thai listed Companies. Doctoral Dissertation in Financial, The joint doctoral program of National Institute of Development Administration Chulalongkorn University and Thammasart University.

Sandin, A., & Porporato, M. (2007). Corporate bankruptcy prediction models applied to emerging economies: Evidence from Argentina in the years 1991 - 1998. International Journal of Commerce and Management 2007, 17, 295-311

Siripokakit, W. (2005). Prediction model for delistings : Evidence from the stock exchange of Thailand. Doctoral Dissertation, Alliant International University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/14/2023

How to Cite

ใสสุข ณ., & พีระเชื้อ อ. . (2023). แบบจำลองสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 15(1), 165–182. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/251948