การใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานใน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ช่วงสถานการณ์ Covid-19

ผู้แต่ง

  • วรัญญา ติโลกะวิชัย บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • จิตติมา คงรัตนประเสริฐ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การใช้พอดแคสต์, ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบของแอปพลิเคชันพอดแคสต์ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  2) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของแอปพลิเคชันที่ส่งผลต่อการใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  โดยเก็บข้อมูลจากประชากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์

                   ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำคัญขององค์ประกอบของแอปพลิเคชันต่อการใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  พบว่า ด้านรูปแบบ ด้านเนื้อหา ด้านการทำให้ตรงความต้องการเฉพาะของลูกค้า ด้านการเชื่อมโยง และด้านการพาณิชย์ มีความสำคัญในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นชุมชนและด้านการติดต่อสื่อสาร มีความสำคัญระดับมาก 2) จากการทดสอบลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงาน
ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  พบว่า ตำแหน่งงานส่งผลต่อการใช้พอดแคสต์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3) จากการทดสอบองค์ประกอบของแอปพลิเคชันที่ส่งผลต่อการใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  พบว่า องค์ประกอบของแอปพลิเคชันในด้านรูปแบบ ด้านเนื้อหา ด้านความเป็นชุมชน ด้านการทำให้ตรงความต้องการเฉพาะของลูกค้า ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการเชื่อมโยง
และด้านการพาณิชย์ ส่งผลต่อการใช้พอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะพนักงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

References

คณิศ แสงสุพรรณ. (2558). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563, จาก https://thaipublica.org/2015/11/kanis-boi/.

ชนินทร เพ็ญสูตร. (2561). พอดแคสต์ สื่อทางเลือกใหม่: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย. วารสารวิชาการ กสทช., 2(2), 272-287.

ธนกฤต โพธิ์ขี. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ Taladnut Night Market. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://www.northbkk.ac.th/research/?news=research&id=000412.

ณัฐวรา จันทร์เอี่ยม และคณะ. (2562). ประสิทธิผลและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนเสมือนจริงในการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(2), 45-56.

นับทอง ทองใบ. (2562). พอดแคสต์ : สื่อเสียงทางเลือกใหม่. 19 ธันวาคม 2562. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ (ครั้งที่14) มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 886-893.

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2563). รับมือโลกหลัง COVID-19 กับ Reskill & Upskill ปรับวิธีการทำงาน. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.pttgcgroup.com/th/updates/feature-stories/1448.

แบรนด์อินไซด์ ธุรกิจคิดใหม่. (2563). Re-skill และ Upskill อนาคตของแรงงานในยุค AI ครองอุตสาหกรรม.ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563, จาก https://brandinside.asia/re-skill-upskill-work/.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). เปิด 12 ธุรกิจน่าจับตาปี’64 “อี-คอมเมิร์ซ-โลจิสติกส์-สุขอนามัย”. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-603036.

พชรพรรณ สมบัติ. (2558). แนวทางการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น Thai Mobile สำหรับผู้ใช้บริการสายการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 46-52.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภโวทัย ประเทืองสุขสกุล. (2560). อิทธิพลด้านการรับรู้คุณภาพและการรับรู้ประโยชน์ต่อความตั้งใจในการใช้บริการแอปพลิเคชัน มิวสิกสตรีมมิง ของกลุ่มเจเนอเรชันวาย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภัทรดนัย พิริยะธนภัทร. (2558). การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านเว็บไซต์ พระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือประมูลพระเครื่องออนไลน์. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มูหำหมัด สาแลบิง และกัลยาณี เจริญช่าง นุชมี. (2560). ผลการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายู. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7 (13), 37-44.

รัตน์สินี ออมสินสมบูรณ์. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันประเภทการคมนาคมขนส่งทางบก. การค้นคว้าอิสระนี้ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณวิสา แย้มเกตุ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของพนักงานธนาคารสายลูกค้าบุคคลของธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง .การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุทธิพงศ์ สุวรรณเดชากุล. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของช่างไฟฟ้าการประปาส่วนภูมิภาคเขต 5. สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

สุมน อยู่สิน และคณะ. (2552). องค์ประกอบในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงรูปแบบซับซ้อน. เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิดในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. หน่วยที่1-8. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อาริยา ลีลารัศมี. (2558). องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และความไว้ใจในการซื้อสินค้า ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : HarperCollins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-05-2021