ปัจจัยองค์การที่สัมพันธ์กับความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับคัดสรร ระดับ 5 ดาว จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยองค์การ, ความสำเร็จของธุรกิจสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับคัดสรร ระดับ 5 ดาว จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับคัดสรร ระดับ 5 ดาว จังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การกับความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับคัดสรร
ระดับ 5 ดาว จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 320 คน จังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำหรับศึกษาเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรวิเคราะห์
หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach’s Alpha – coefficient) จากการทดสอบกลุ่มตัวอย่างได้ค่าความเชื่อมั่น 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยองค์การที่สัมพันธ์
กับความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับคัดสรร ระดับ 5 ดาว จังหวัดนนทบุรี มากที่สุด คือ ด้านเทคโนโลยี รองลงมาคือด้านภาระงาน ด้านโครงสร้างองค์การ และด้านคน เมื่อพิจารณาความสำเร็จทางธุรกิจที่วัดจากการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบสมดุล (Balance Scorecard) อยู่ในระดับมาก ระดับมากที่สุด คือ ด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์การ ระดับรองลงมา คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า และด้านกระบวนการภายใน เมื่อพิจารณาปัจจัยองค์การมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จทางธุรกิจ พิจารณาเป็นรายคู่ อยู่ในระดับสูงมาก มีความสัมพันธ์กันในลักษณะคล้อยตามกันทุกคู่ สูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านคน และด้านภาระงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จินตนา สระทองขาว. (2554). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัญญา แว่นทิพย์ และคะนอง พิลุน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายของอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(1), 66-81.
ชัยพจน์ ช่างแต่ง. (2552). การศึกษาปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ : พี เอ็น เค แอนด์ สกาย พริ้นติ้งส์.
ทัศนีย์วรรณ แนบทางดี. (2554). ผลกระทบของประสิทธิภาพการส่งเสริมการขายที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจตัวแทนประกันวินาศภัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธานี นาคเกิด และระพี กาญจนะ. (2554). การพัฒนาระบบการวัดผลการปฏิบัติงานโดยอาศัยการวัดผลดุลยภาพ (BSC) กรณีศึกษา โรงงานฉีดพลาสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรม-อุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธนบรี.
ณรงค์ศักดิ์ จักรกรณ์. (2547). คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ : สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์การพิมพ์.
พัชรินทร์ โต๊ะบุรินทร์ (2548). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์: Strategic Management. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
ถังทรัพย์การพิมพ์.
ลักษมี งามมีศรี และคณะ. (2552). การศึกษาการตลาดสินค้า OTOP สู่แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสินค้า OTOP ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วรรณพา นามสีฐาน. (2555). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วราภรณ์ ศรีบุญ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2547). ผลงานสำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปีงบประมาร 2547 (ตุลาคม 2546-เมษายน 2547). ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก http://www.ops.moc.go.th/ewt_news.php?nid=229&filename=index
สำนักงานพัฒนาชุมชนชำสูง จังหวัดขอนแก่น. (2562). หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก https://district.cdd.go.th/samsung/services/
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี. (2559). ลงทะเบียนผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561, จาก https://nonthaburi.cdd.go.th/
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2562). กรอบการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2562-2565. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก https://cep.cdd.go.th/
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2547). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลในการนำหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ไปใช้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นฐานภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy to Action. Boston : Harvard Business School Press.
Kast, F. E., & Rosenzweig, J. (1973). Organization and Management. 4th ed. New York : McGraw-Hill Book.
Owens, J. (2001). Organizational Behavior in Education: Instructional Leadership and School Reform (7th ed). Boston : Allyn & Bacon.
Roscoe, J. T. (1975). Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences 2nd edition. New York : Holt, Rinehart and Winston.
Schumacher, R.E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginnerrs Guide to Structural Equation Modeling: SEM. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.
Steers, R. M. (1973). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. San Marino : Good Year Publishing Company Inc.
Steers, R. M. (1991). Introduction to Organization Behavior. New York : Harper Collin Publishers Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว