ต้นทุน ผลตอบแทน และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ต้นทุน, ผลตอบแทน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทน, ธุรกิจร้านกาแฟบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุน ผลตอบแทน และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ ประเภทไม่ใช่แฟรนไชส์ จากฐานข้อมูลเว็บไซต์วงใน ภายในรัศมี 5 กิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 34 ร้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า โครงสร้างต้นทุนของธุรกิจร้านกาแฟ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ค่าใช้จ่ายการลงทุนค่าเฉลี่ย 3,403,119.39 บาท (94.71%) และ 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาค่าเฉลี่ย 189,957.75 บาท (5.29%) ต้นทุนจำแนกตามหน้าที่ประกอบด้วย ต้นทุนผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย 109,741.62 บาท (52.89%) และต้นทุนตามงวดเวลาค่าเฉลี่ย 97,747.79 บาท (47.11%) จำแนกตามพฤติกรรมประกอบด้วย ต้นทุนคงที่มีค่าเฉลี่ย 126,674.22 บาท (60.70%) และต้นทุนผันแปรมีค่าเฉลี่ย 82,019.90 บาท (39.30%) ธุรกิจร้านกาแฟจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 2,958 แก้วต่อเดือน อัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 34.08 อัตรากำไรต่อต้นทุนร้อยละ 44.18 และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ร้อยละ 2.69
ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลในระดับที่มากที่สุดคือ ปัจจัยด้านราคา ( X = 4.46).ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการให้บริการของพนักงาน ด้านสถานที่ และด้านเงินทุน ( X = 4.07, 4.03, 3.96, 3.93 และ 3.73 ตามลำดับ)
References
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับความจงรักภักดีต่อร้านกาแฟสด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 16(1), 21-37. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563, จาก https:// so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/88422.
จุฬาลักษณ์ เกษมจิตร และอภิรัตน์ อุดมทรัพย์. (2562, กรกฎาคม). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟ : กรณีศึกษาประชาชนในพื้นที่ เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. วันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ณ Blue Ocean Hall มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2563, จาก https://www.hu.ac.th/conference/conference2019/ proceedings2019/FullText......201009-1022.pdf.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2562). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ : ยงพลเทรดดิ้ง.
ฑิฆัมพร วาสิทธิ์. (ม.ป.ป.). สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ. ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/krutikamporn/home/phu-cad-tha/2-3-sphaph-waedlxm-phaynxk-xngkhkar.
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์. (2562). การบริหารโครงการ: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพ : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พัทธนันท์ สุดยอด และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและความอ่อนไหวของธุรกิจร้านกาแฟสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พื้นที่จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย, 10(3), 887-903. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/104572.
ทิพย์พิมล ดวงจันทร์. (2558). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูนในการเลือกร้านกาแฟ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกจิมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563, จาก http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2558/mba60958tdj_ch5.pdf.
ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์. (2563). แนวโน้มธุรกิจกาแฟเมืองไทย ปี 2563. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID =5613.
นวพร บุศยสุนทร. (2555). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2557). ระบบบัญชีระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2561). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
วงใน. (2562). เปิดร้านอาหารไม่ควรพลาด! สรุปเทรนด์ร้านอาหาร ปี 2562 ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563, จาก https://www.wongnai.com/business-owners/ thailand-restaurant-trend-2019.
วรามาศ เพ็ชรเนียม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการในร้านกาแฟพรีเมี่ยมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_57020305 93_3572_2015.pdf.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ธุรกิจร้านกาแฟ บริหารอย่างไรให้รุ่ง. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/ KSMEAnalysis/Documents/Coffee-Shop-Management.pdf.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2562). ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php? id=207.
สราวุธ พุฒนวล. (2562). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟ ในจังหวัดระนอง. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563, จาก http:// www.elcls.ssru.ac.th/sarawut_pu/pluginfile.php/26/block_html/content/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1.pdf.
สุกัญญา ละมุล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดคาเฟ่อเมซอน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก http:// dspace.bu.ac.th /bitstream/123456789/2596/1/ sukanya_lamu.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบัญชีและการจัดการ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว