ผลกระทบของการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ที่มีต่ออรรถประโยชน์ของลูกค้าโรงภาพยนตร์ท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณัฐกร สอนเอี่ยม คณะการบัญชีและการจัดการ
  • พรลภัส สุวรรณรัตน์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คมกริช วงศ์แข คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเลือกทางเศรษฐศาสตร์, อรรถประโยชน์ของลูกค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ที่มีต่ออรรถประโยชน์ของลูกค้าโรงภาพยนตร์ท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าโรงภาพยนตร์ท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ ด้านสินค้าทดแทนและสินค้าประกอบ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับอรรถประโยชน์โดยรวมของลูกค้าโรงภาพยนตร์ท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ท้องถิ่นควรนำข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการส่งเสริม และประกอบการพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ รวมถึงแนวปฏิบัติต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าและเข้าใจถึงกระบวนการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์

References

จิระภรณ์ ตันติชัยรัตนกูล. (2557). ความรู้ทางการตลาด. ค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560, จาก http://stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/management/weeks.html

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : ส.เอเซียเพรส.

ธีระวัฒน์ พุทธางกูร. (2550). การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน. ค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/134172

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2540). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภราดร ปรีดาศักดิ์. (2550). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2557). คิดยกกำลังสอง : เศรษฐศาสตร์โรงหนัง. ค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560, จาก http://thaipublica.org/2016/08/film-industry-2/

สำนักงานแรงงานจังหวัดมหาสารคาม. (2556). ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดมหาสารคาม. รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดมหาสารคาม ประจำปี 2556. ค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560, จาก http://mahasarakham.mol.go.th/node/988

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology Comprehension Strategies and Trend). กรุงเทพฯ : เพรส แอนด์ ดีไซน์.

Anand, P. (1993). Foundations of Rational Choice under Risk. England : Oxford Clarendon Press.

Black, K. (2006). Business statistics: for contemporary decision making. New Jersey : John Wiley & Sons.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Nunnally, J. C., & Ira, H. B. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychological theory. New York : McGraw-Hill.

Jablon, P. (2013). The Southeast Asia Movie Theater. Retrieved on March 15, 2016, from http://www.gqthailand.com/people/view/?url=interview-philip-jablon

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2021